วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สาระน่ารู้ เรื่อง จุลินทรีย์ (Microbe) ประจำวันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ.2555

จุลินทรีย์คืออะไร
จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมากที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า จุลินทรีย์มีอยู่ทุกหนทุกแห่งแม้แต่ในร่างกายของเรา  และยังพบในพืช สัตว์  ในสิ่งแวดล้อม ทั้งดิน น้ำ อาหาร อากาศ  จุลินทรีย์ส่วนใหญ่เป็นพวกที่มีประโยชน์ และไม่ทำอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตอื่น แต่บางพวกก่อให้เกิดโรคในพืช สัตว์ และมนุษย์

ประเภทของจุลินทรีย์
เราอาจแบ่งจุลินทรีย์ออก เป็นกลุ่มตามขนาด รูปร่างและคุณสมบัติอื่นๆ ได้ดังนี้
1. เชื้อไวรัส เป็นจุลินทรีย์ที่ขนาดเล็กที่สุดต้องใช้กล้องจุลทรรศน์อิ เล็กตรอนที่มีกำลังขยายเป็นหมื่นเท่าจึงจะมองเห็นได้ เรายังไม่สามารถเพาะเลี้ยงเชื้อไวรัสได้ในอาหารเพาะเลี้ยง เชื้อไวรัสเจริญเพิ่มจำนวนได้เมื่ออยู่ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตเท่านั้น
2. เชื้อบัคเตรี มีขนาดใหญ่กว่าเชื้อไวรัส สามารถมองเห็นได้เมื่อส่องขยายด้วยกล้องจุลทรรศน์ธรรมดา
3. เชื้อรา (fungus) มีขนาดใหญ่กว่าเชื้อบัคเตรี พบว่ามีรูปร่าง 2 แบบ คือ ราแบบรูปกลม เรียกว่า ยีสต์ และราแบบเป็นสาย เรียกว่า สายรา ราบางชนิดจะมีรูปร่างได้ทั้ง 2 แบบ ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมในธรรมชาติ เราอาจมองเห็นกลุ่มของเชื้อราได้ด้วยตาเปล่า ราบางชนิดจะสร้างสปอร์สำหรับสืบพันธุ์เกิดเป็นเห็ดขึ้น
4. เชื้อปรสิต (parasite) เป็นจุลชีพที่มีขนาดใหญ่ มีลักษณะใกล้เคียงกับสัตว์มากกว่าพืช ภายในเซลล์แยกออกเป็นนิวเคลียสและไซโทพลาซึม (cytoplasm) ชัดเจน แบ่งย่อยออกไปอีกเป็น สัตว์เซลล์เดียว หนอนพยาธิ และอาร์โทรพอด (arthropod) ตัวอย่างเชื้อปรสิต ได้แก่ เชื้อบิดอะมีบา เชื้อมาลาเรีย พยาธิตัวกลม พยาธิใบไม้ พยาธิตัวตืด ตัวหิดและตัวโลน เป็นต้น 

ความสำคัญของจุลินทรีย์
1. ผลิตอาหาร อาหารที่เกิดจากการหมักของจุลินทรีย์ เรียกว่า อาหารหมัก (fermented food) เช่นกะหล่ำปลีดอง แตงกวาดอง นมเปรี้ยว โยเกิร์ต เกิดจากกระบวนการหมักโดยใช้แบคทีเรียที่สร้างกรดแล็กติก ทำให้มีรสเปรี้ยว ,เนย เกิดจากการนำไขมันในนมมาเติมเชื้อแบคทีเรียเพื่อทำให้เกิดการจับตัวกันทำให้ เกิดเนยเหลว (butter) และเนยแข็ง (cheese) ตามชนิดของแบคทีเรียที่ใช้ ,เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เกิดจากการหมักของยีสต์ที่เปลี่ยนน้ำตาลให้เป็นแอลกอฮอล์ ,ขนมปังเกิดจากการหมักของยีตส์ที่จะให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทำ ให้ขนมปังนุ่มฟู
2. ผลิตเชื้อเพลิง กระบวนการหมักของยีสต์ทำให้เกิดแอลกอฮอล์ซึ่งสามารถนำไปผสมกับน้ำมัน เรียกว่า แก๊สโซฮอล์ (Gasohol)
3. การบำบัดน้ำเสีย น้ำเสียจากบ้านเรือนจะมีสารอินทรีย์ปนอยู่มาก ซึ่งเป็นอาหารของจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ การบำบัดน้ำเสียทำได้โดยการเติมอากาศให้กับน้ำโดยการกวนน้ำแรงๆ แล้วปล่อยให้เป็นหน้าที่ของจุลินทรีย์ในการย่อยสลายสารอินทรีย์
4. การย่อยสลายสารอินทรีย์ จุลินทรีย์ในดินพวกแบคทีเรียและเห็ดราชนิดต่างๆ ช่วยย่อยสลายสารอินทรีย์จากซากสิ่งมีชีวิตให้กลายเป็นสารอนินทรีย์ โดยจุลินทรีย์ได้สารอาหารจากซากเหล่านั้น และนำไปใช้ประโยชน์ ขณะเดียวกันสารอินทรีย์ที่สลายเป็นสารอนินทรีย์ ก็เป็นสารอาหารของพืชที่ดูดซึมไปสร้างเนื้อเยื่อพืชได้ ดังนั้น ถ้าขาดจุลินทรีย์ในดิน จะทำให้ดินขาดสารอาหาร และพืชไม่สามารถเจริญเติบโตได้
5. ผลิตสารปฏิชีวนะและวัคซีน จุลินทรีย์สามารถสร้างสารปฏิชีวนะเพื่อไปทำลายจุลินทรีย์อีกชนิดหนึ่งที่ก่อให้ เกิดโรค โดยสารนี้ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ทำให้เกิดยารักษาโรคต่างๆ ,การฉีดวัคซีนเป็นการฉีดเชื้อที่ตายแล้วหรือเชื้อที่อ่อนกำลังลง (เรียกว่า แอนติเจน) เข้าไปในร่างกายเพื่อให้ร่างกายรู้จักเชื้อชนิดนั้นแล้วสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา เมื่อได้รับเชื้อเป็นครั้งที่สองร่างกายจะทำการต่อต้านและทำลายเชื้อนั้นๆ ได้รวดเร็วขึ้น


จุลินทรีย์ให้โทษ
1. ทำให้อาหารเน่าเสีย จะเห็นได้ว่าเมื่อเราวางอาหารทิ้งไว้นานๆ อาหารนั้นจะมีกลิ่นเหม็น และมีลักษณะเปลี่ยนไป (เป็นเมือกเหนียว มีฟอง) ลักษณะเช่นนี้เกิดจากการย่อยสลายของจุลินทรีย์
2. เป็นสาเหตุของโรค กลไกการก่อให้เกิดโรคมี 2 อย่าง คือ
    - จุลินทรีย์จะทำการขยายพันธุ์ในร่างกายของสิ่งมีชีวิตก่อให้เกิดโรค ในร่างกายของสิ่งมี

  ชีวิตนั้นๆ และอาจติดต่อไปยังสิ่งมีชีวิตอื่นได้อีกด้วย เช่น โรคหวัด บาดทะยัก โรคพยาธิต่างๆ
    - จุลินทรีย์จะสร้างสารซึ่งเป็นพิษต่อร่างกายก่อให้เกิดอาการต่างๆ เช่น ท้องเดิน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม