วันพุธที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

QC Study Questions และสรุปผลการสอบ

                      
                      
                      
                      
                       
                      
                      
                      
                       
























         



การสร้างสรรค์ผลงานจาก "กระดาษทิชชู่"

ชิ้นงานที่พวกเราทำเป็นชิ้นงานที่ทำมาจากวัสดุธรรมชาติ    
คือ   จาก กระดาษทิชชู่ คุณครูประจำชั้น
พาพวกเราทำ เป็นการ ฝึกสมาธิ ฝึกความคิดสร้างสรรค์ ฝึกการทำงานเป็นกลุ่มการแสดงความคิดเห็น เพราะฉะนั้น ผลงานของพวกเรา จึงมีสีสันที่สวยงาม และสร้างสรรค์ .........

กิจกรรม "นิทานยามเช้า ระดับชั้น ป.2/1"

กิจกรรม นิทานยามเช้า เป็นกิจกรรมที่ฝึกให้เด็กมีสมาธิ ฝึกความกล้าแสดงออก ฝึกคำศัพท์ และทักษะการพูดให้มีความมั่นใจมากขึ้น  นักเรียนชั้น ป.2/1  เล่านิทานใน หัวเรื่อง  พ่อไก่กับเม็ดพลอย  โดย
ด.ญ.ปิ่นมนัส        สถินธรรมศักดิ์ 
ด.ญ.วริษา            เทียมทอง
ด.ญ.ภมุกา           ขันธ์เครือ
ด.ญ.วรดา            เหมทานนท์
ด.ญ.ชนิกานต์      จตุรานนท์

กิจกรรมยามเช้า "G.1C"

กิจกรรม นิทานยามเช้า เป็นกิจกรรมที่ฝึกให้เด็กมีสมาธิ ฝึกความกล้าแสดงออก ฝึกคำศัพท์ และทักษะการพูดให้มีความมั่นใจมากขึ้น  นิทานเรื่อง กากับสุนัขจิ้งจอก โดย
ด.ญ.ปภาวรินทร์               อาจณรงค์ฤทธิ์
ด.ญ.กชพรรณ                 พึ่งแดง
คุณธรรม 
ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง  อย่าหลงเชื่อคำยกย่องจากผู้อื่นเหมือนกา

การประะกวดมหัศจรรย์กีฬายิมนาสติกเพื่อสุขภาพ

    เนื่องด้วยสโมสรครัสตรายิมได้รับเชิญ    จาก     สมาคมยิมนาสติกแห่งประเทศไทย      ให้ส่งนักกีฬาเข้าร่วมประกวด
มหัศจรรย์กีฬายิมนาสติกเพื่อสุขภาพ   ประจำปี 2554  จัดขึ้นโดย สมาคมยิมนาสติกแห่งประเทศไทย และให้การสนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  และนักเรียนของโรงเรียนสารสาสน์วิเทศรังสิต ได้เป็นตัวแทน 1 ในผู้เข้าประกวด คือ 
ด.ญ.ณัฐิดา    ไกรสีกาจ  นักเรียนชั้น G.1F
ผลการแข่งขัน ได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญทอง
                                    

สาระน่ารู้ "วิชาวิทยาศาสตร์"


ระบบหายใจ

            ระบบหายใจ ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนแก๊สออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ในระบบนี้ประกอบด้วยอวัยวะสำคัญ ได้แก่ จมูก หลอดลม และปอด
             3.1 จมูก เป็นอวัยวะส่วนต้นของระบบหายใจ ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของอากาศ ช่วยกรองฝุ่นละออง และเชื้อโรคบางส่วนก่อนอากาศจะผ่านไปสู่อวัยวะอื่นต่อไป
             3.2 หลอดลม เป็นท่อกลวงเชื่อมต่อกับขั้วปอดทั้ง 2 ข้าง ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของอากาศเพื่อนำไปสู่ปอด
             3.3 ปอด เป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดของระบบหายใจ ปอดมี 2 ข้าง อยู่ในทรวงอกด้านซ้ายและขวา ปอดแต่ละข้างประกอบด้วยขั้วปอด ซึ่งจะแตกแขนงออกเป็นหลอดเล็กๆ เรียกว่า แขนงขั้วปอด ที่ปลายของแขนงขั้วปอดจะพองออกเป็นถุงลมเล็กๆ มากมาย สำหรับเป็นที่แลกเปลี่ยนแก๊ส เรียกว่า ถุงลมปอด
             นอกจากอวัยวะที่กล่าวมาแล้ว การทำงานของระบบหายใจยังต้องอาศัยกล้ามเนื้อซี่โครงและกล้ามเนื้อกะบังลมทำงานร่วมกัน ทำให้เกิดการหายใจเข้าและหายใจออก เมื่อเราหายใจเข้า กล้ามเนื้อซี่โครงจะบีบตัวและขยายออก กล้ามเนื้อที่กะบังลมจะหดตัวเหยียดตรง ทำให้ช่องอกมีที่ว่างมากขึ้น ขณะเดียวกันอากาศก็จะผ่านเข้าสู่ช่องจมูก แล้วเข้าสู่หลอดลมลงไปที่ปอดแต่ละข้าง แก๊สออกซิเจนที่อยู่ในอากาศจะซึมออกจากถุงลมปอดเข้าสู่กระแสเลือด ขณะเดียวกันแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จะซึมออกจากกระแสเลือดเข้าสู่ถุงลม ปอดทำให้อากาศในถุงลมมีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้น เมื่อกล้ามเนื้อที่ซี่โครง กะบังลมและกล้ามเนื้อช่องท้อง คลายตัวกลับสู่สภาพเดิม ทำให้บริเวณช่องอกแคบลง แล้วออกจากร่างกายทางช่องจมูก เป็นลมหายใจออก

วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สาระน่ารู้ "วิชา วิทยาศาสตร์"


ระบบไหลเวียนเลือด Cardiovascular System

ระบบไหลเวียนเลือดทำหน้าที่ขนส่งสารต่าง ๆ เช่น อาหารและออกซิเจนไปทั่วร่างกาย และนำของเสียกลับคืนมา ส่วนประกอบสำคัญของระบบนี้มี 3 ส่วน ได้แด่ เลือด เป้นของเหลียวที่นำสารต่าง ๆ เข้าและออกจากเซลล์หลอดเลือดเป็นท่อให้เลือดไหลผ่าน และหัวใจทำหน้าที่สูบฉีดเลือด


หัวใจ

หัวใจประกอบด้วยกล้ามเนื้อหัวใจทำงานต่างจากกล้ามเนื้อชนิดอื่นโดยที่ไม่รู้จักเมื่อยหล้า หัวใจแบ่งเป็น 4 ส่วน เรียกว่าห้องหัวใจ ห้องบนทั้งสองซีกเรียกว่า หัวใจห้องบน (Atria) และห้องล่างทั้งซีกเรียกว่า หัวใจห้องล่าง (ventricle)
การไหลเวียนเลือดภายในหัวใจ





ลิ้นระหว่างห้องหัวใจเป็นลิ้นปิด-เปิดทางเดียว เมื่อเลือดไหลมาจะมีแรงดันใบลิ้นทำให้ลิ้นเปิดออก และปิดกลับอย่างรวดเร็วเพื่อป้องกันมิให้เลือดไหลย้อนกลับ การปิดกระแทกของลิ้นจะทำให้เกิด “เสียงเต้นของหัวใจ” (heart beat)


การไหลเวียนเลือด

การไหลเวีนเลือด 1 รอบ เลือดต้องไหลผ่านหัวใจ 2 ครั้งคือ ครั้งแรกเลือดถูกสูบฉีดออกจากหัวใจห้องล่างขวาไปยังปอดเพื่อรับออกซิเจนที่เราหายใจเข้าไป จากนั้นเลือดจะไหลกลับเข้าสู่หัวใจห้องบนซ้าย ลงสู่ห้องล่างซ้าย แล้วถูกสูบฉีดเพื่อนำออกซิเจนไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย แล้วไหลกลับสู่หัวใจเพื่อเริ่มต้นการไหลเวียนรอบใหม่



หลอดเลือด

เลือไหลออกจากหัวใจไปตามหลือดเลือดแดงซึ่งมีผนังแข็งแรงมากจากนั้นหลอดเลือดจะแตกแขนงเล็ก ลงไปเรื่อย ๆ จนกลายเป็นหลอดเลือดฝอยซึ่งมีผนังบางเท่าความหนาของเซลล์เดียวเท่านั้น ดังนั้นออกซิเจนและสารต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อเซลล์ภายในร่างกายจึงสามารถะแพร่ผ่านเข้าสู่น้ำเนื้อเยื่อที่อยู่ระหว่างเซลล์ได้อย่างง่ายดาย




เลือด



เลือดประกอบด้วยเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด ลอยอยู่ในของเหลวสีเหลือง ที่เรียกว่า พลาสมา ร่างกายผู้ใหญ่เฉลี่ยแล้วมีเลือดอยูประมาณ 5 ลิตร นอกจากทำหน้าที่ลำเลียงสารต่าง ๆ ไปทั่วร่างกายแล้วเลือดยังช่วยต่อสู้เชื้อโรค รักาบาดแผลและควบคุมอุณหภูมิของร่างกายอีกด้วย



เม็ดเลือดแดง มีรูปร่างคล้ายจานภายในมีสารสีม่วงแดงเรียกว่า ฮีโมโกลบิน เมื่อเลือดไหลผ่านปอด ฮีโมโกลบินจะจับกับออกซิเจนกลายเป็น ออกซิฮีโมโกลบินซึ่งมีสีแดงสด เมื่อเม็ดเลือดแดงนำออกซิเจนไปส่งให้แก่เซล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกายแล้ว ออกซีฮีโมโกลบินจะเปลียนกลับมาเป็นฮีโมโกลบินอีกครั้ง
เม็ดเลือดแดงจะตายไปทุก ๆ 4 เดือนและมีเม็ดเลือดแดงใหม่ที่สร้างจากไขกระดูก ในอัตราวินาทีละ 2 ล้านตัวมาทดแทน



เม็ดเลือดขาว มีขนาดใหญ่กว่าเม็ดเลือดแดง ทำหน้าที่ช่วยร่างกายต่อสู้กับเชื้อโรค 
เกล็ดเลือด เป็นเศษชิ้นเล็ก ๆ ของเซลล์มีหน้าที่ช่วยห้ามเลือดเมื่อเกิดบาดแผล


การแข็งตัวของเลือด

เมือเลือดไหลออกจากบาดแผล สักครู่หนึ่งจะเห็นเลือดเปลี่ยนเป็นลิ่มคล้ายวุ้น ลิ่มเลือดประกอด้วยไฟบริน โดยมีเกล็ดเลือดเป็นตัวกระตุ้นปฏิกริยา ลิ่มเลือดทำหน้าที่ช่วยห้ามเลือด และป้องกกันมิให้เชื้อโรคเข้าสู่บาดแผล



หมู่เลือด

หมู่เลือดแบ่งเป็น 4 หมู่ คือ A B O และ AB แต่ละหมู่จะมีแอนติเจนบนเม็ดเลือดแดง และแอนติบอดีในพลาสมา ที่แตกต่างกันไป ในการถ่ายเลือด หมู่เลือดของผู้ให้จะต้องสอดคล้องกับหมูเลือดของผู้รับ


หมู่เลือดแอนติเจนแอนติบอดีหมู่เลือดที่รับได้
AAแอนติ AA และ O
BBแอนติ BB และ O
ABA และ Bไม่มีให้ได้ทุกหมู่
Oไม่มีแอนติ A แอนติ Bให้ได้เฉพาะ O

วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ชิ้นงานของนักเรียน ชั้น ป.3

การทำงานของนักเรียนในระดับช่วงชั้นที่ 1 ในป.3 เป็นผลงานของนักเรียนที่คุณครูประจำชั้น ประจำวิชา สอนการทำงานเป็นระเเบียบ การคิดแบบสร้างสรรค์ให้ผลงานออกมามีเนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เรียน แล้วสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้












   
    


       
   




ผู้ติดตาม