วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2554

วันรัฐธรรมนูญ




วันที่ 10 ธันวาคมเป็นวันรัฐธรรมนูญ ซึ่งจัดให้มีขึ้นทุก ๆ ปี เพื่อเป็นการระลึกถึงการอุบัติขึ้นของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ


ก่อนหน้านี้ประเทศไทยมีการปกครองแบบระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ การเปลี่ยนแปลงนี้นำโดยกลุ่มคนรุ่นหนุ่มสาวที่ได้รับการศึกษาจากต่างประเทศและได้รับอิทธิพลจากแนวความคิดด้านระบอบประชาธิปไตยตะวันตก กลุ่มนี้มีชื่อว่า “คณะราษฎร์” นำโดยหลวงประดิษฐมนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการนองเลือด พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้มีการยกเลิกการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และทรงมอบรัฐธรรมนูญฉบับถาวรฉบับแรกของประเทศให้กับประชาชน ที่จริงแล้วพระองค์ทรงเตรียมการที่จะทรงมอบอำนาจของพระองค์ให้อาณาประชาราษฎร์ก่อนที่จะมีการเรียกร้องเสียด้วยซ้ำไป


อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูยไทยทุกฉบับต่างก็ยอมรับพระมหากษัตริย์ว่าทรงดำรงตำแหน่งเป็นประมุขของประเทศ ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก และทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ อำนาจอธิปไตยของพระองค์มาจากปวงชนชาวไทย และพระองค์ทรงใช้อำนาจ 3 ทางคือ อำนาจนิติบัญญัติโดยผ่านรัฐสภา อำนาจบริหารโดยผ่านคณะรัฐมนตรี และอำนาจตุลาการโดยผ่านศาลยุติธรรม



ถึงแม้ว่า การปฏิวัติในปี พ.ศ. 2475 จะนำมาซึ่งการสิ้นสุดของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อันเป็นระบอบเก่าแก่มาหลายศตวรรษก็ตาม ความเคารพเลื่อมใสศรัทธาของชาวไทยที่มีต่อองค์พระมหากษัตริย์ก็ไม่มีวันเสื่อมคลายด้วยการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ทั้งสิ้น


ที่เห็นได้ชัดก็คือ พระบรมฉายาลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ไทยมีให้เห็นอยู่ทั่วพระราชอาณาจักรในวันรัฐธรรมนูญ จะมีการจัดพิธีฉลองวันนี้กันทั่วประเทศโดยสถานที่ราชการ อาคารเอกชน และตึกสูง ๆ จะประดับด้วยธงชาติและธงประดับพร้อมทั้งแสงไฟสว่างไสว ชาวไทยต่างพร้อมใจกันแสดงความจงรักภักดีต่อองค์พระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระมหากรุณาธิคุณเปิดโอกาสให้ปวงชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารประเทศชาติ

Constitution Day

December 10 marks the Constitution Day which is held annually to commemorate the advent of the regime of Constitutional Monarchy in Thailand.

Previously, the government of Thailand was an absolute monarchy until June 24, 1932 there was a transition to constitutional monarchy led by a group of young intellectuals educated abroad and inspired by the concept of western democratic procedures. The group which was known as “People’s Party or Khana Rasdr” was led by Luang Pradit Manudharm (Pridi Panomyong). To avoid bloodshed, King Rama VII graciously agreed to abolish absolute monarchy and handed over the country’s first “Permanent” Constitution. In fact, King Rama VII (King Prajadhipok) had prepared, even before being asked, to hand over his powers to the people.

All Thai constitutions, however, recognise the King as Head of State, Head of the Armed Forces, Upholder of All Religions and sacred and inviolable in his person. His Majesty the King’s sovereign power emanates from the people and is exercised in three ways, namely ; legislative power through the National Assembly, executive power through the Cabinet and Judicial power through the law courts.

Even though the Revolution of 1932 brought an end to the centuries old absolute monarchy, the reverence of the Thai people towards their kings has not been diminished by this change.

Portraits of Thai kings are prominently displayed throughout the kingdom. On Constitution Day, the entire nation is greeted with festivity. The government offices, private buildings and most highrises are decorated with national flags and bunting and are brightly illuminated. On this day, all Thai citizens jointly express their gratitude to the king who graciously granted them an opportunity to take part in governing the country.






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม