วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เตรียมตัวเพื่อเปิดเทอมอย่างมีความสุข





ใกล้จะเปิดเทอมแล้ว เวลาแห่งความสุขที่เล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ ท่องเว็บ แชตกับเพื่อนทั้งวันหรือเที่ยวเล่นสนุกจะหมดลงแล้ว อย่าคิดว่าเปิดเทอมทำให้เราหมดความสุขค่ะ เพราะหน้าที่ของพวกเราตอนนี้ คือ การเรียนหนังสือ เราต้องทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด
ถึงแม้เปิดเทอมเรามีความสุขได้ค่ะ เพราะเรา (เตรียม) ‘พร้อม’ ทุกอย่างแล้ว พร้อมที่จะเรียนรู้เนื้อหาใหม่ๆ เพื่อนใหม่
เอาล่ะ เตรียมพร้อมที่จะลุยหรือยัง เรามีคำแนะนำดีๆ ค่ะ
1. อุปกรณ์การเรียน ทั้งหนังสือเรียน สมุด  กระเป๋านักเรียน เครื่องเขียน และชุดนักเรียน รองเท้า ลองดูว่าอะไรที่เราขาดเหลือบ้าง ถ้าขาดเหลืออะไรจะได้ไปหาซื้อได้ตามห้างสรรพสินค้าใหญ่ ที่มักจะมีโปรโมชั่นลดราคา หรือ ต้องซ่อมแซม รีบทำให้เสร็จก่อนเปิดเทอมนะคะ แนะนำให้เตรียมอุปกรณ์การเรียนน่ารักๆ จะประดิษฐ์เองจะได้ประหยัดก็ได้นะคะ ต้อนรับเปิดเทอม เพื่อเป็นกำลังใจในการเรียนค่ะ ปากกาสีสันสดใส ไว้จด ทำให้จำแม่นดีค่ะ
2. สุขภาพ หันมาดูแลสุขภาพกันก่อนเปิดเทอมนะคะ ออกกำลังกายบ้าง สักวันละ 20 นาที สุขภาพจะได้แข็งแรงพร้อมที่จะเรียนรู้ค่ะ

3. ปรับเวลาเข้านอน จากที่นอนดึกๆ ดื่นๆ ดูละครหรือเล่นเน็ต ต้องปรับเวลาในการนอนให้เร็วขึ้นแล้วค่ะ ควรเริ่มปรับเวลานอน ล่วงหน้าสักหนึ่งสัปดาห์ ถึงเวลาตื่นนอนตอนเช้าจะได้สดชื่น ไม่ง่วงงุน ปวดหัว แล้วเรียนไม่รู้เรื่องกันนะคะ

4. การรับประทานอาหาร ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นผัก ผลไม้ ด้วยค่ะ เพื่อบำรุงสมอง และควรปรับการรับประทานให้เป็นเวลา จากที่เคย ‘กินเมื่อหิว’ ช่วงปิดเทอม ปรับสภาพได้แล้วนะคะ

5. เริ่มหยิบหนังสือที่ต้องเรียนในเทอมต่อไปมาลองอ่านดูค่ะ หากขี้เกียจมาก ลองทำใจอ่านสารบัญก่อนนะคะ แล้วค่อยๆ คิดคำถามว่า หัวข้อนี้ เนื้อหาต้องเป็นอย่างนี้แน่นอนเลย แล้วพลิกดูคำตอบสิ ว่าเหมือนกับที่เราคิดไว้หรือไม่ จะทำให้เราค่อยๆ เปิดอ่านหนังสือได้เรื่อยๆ จนหมดเล่มค่ะ จะทำโน้ตย่อ หรือ Mind Map ไว้ก็ได้นะคะ



6. ตั้งเป้าหมายในการเรียนไว้สำหรับเทอมนี้ ว่าฉันจะต้องได้เกรดสูงกว่าเทอมที่แล้ว เท่าไรดี แล้วตั้งใจเรียน ย้ำกับตัวเองบ่อยๆ ว่าเราต้องสู้ พยายามเข้าค่ะ เราต้องทำได้ แต่อย่าเครียดมากนะคะ ทำดีที่สุดค่ะ หากผิดหวังหรือพลาดไป แก้ตัวใหม่ได้ในการสอบครั้งต่อไปค่ะ อ่านให้เยอะมากกว่าเดิม สู้ๆ ค่ะ

7. จัดโต๊ะหนังสือใหม่ค่ะ นำหนังสือของปีที่แล้วหรือเทอมที่แล้วจัดไว้ให้เป็นระเบียบ เผื่อหยิบมาเปิดดูบทเรียนที่สงสัย แล้วทำโต๊ะให้โล่งๆ เพราะหากต้องกางหนังสือหลายๆ เล่มในเวลาเดียวกัน

8. ศึกษาเส้นทางการเดินทางไปโรงเรียน ว่าต้องต่อรถตรงบริเวณใด หากต้องเดินทางไปเอง หากใช้รถตู้โรงเรียน ข้ามข้อนี้ไปค่ะ

9. คิดถึงเพื่อนๆ ไว้ จะได้พบ พูดคุย  เล่นกับเพื่อนแล้ว น่าสนุกออกนะคะ จะได้คุยกันว่าทำอะไรช่วงปิดเทอมบ้าง  หากต้องพบเพื่อนใหม่ ให้เปิดใจในการทำความรู้จักและเรียนรู้เพื่อนใหม่ค่ะ พยายามคบคนดีๆ เป็นมิตร จะได้เกื้อหนุนกันค่ะ

10. วางแผนแบ่งเวลาในการเรียนค่ะ จดบันทึกในสมุดคร่าวๆ ว่า หลังเลิกเรียนจะต้องทำอะไรบ้าง ออกกำลังกาย ไปเรียนพิเศษวันไหนบ้าง ทบทวนวิชาใดในวันใดบ้าง





ขอให้ได้เกรด A หรือ เกรด 4 กันทุกวิชาเลยนะคะ แต่หากยังทำไม่ได้  ไม่เป็นไรค่ะ ดูสิว่า เราทำดีที่สุดหรือยัง ปรับปรุงเทคนิคการเรียนใหม่  จำไว้ว่า จงทำดีที่สุด ทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด เรียนอย่างมีความสุข ท่องอย่างมีความสุข ลองแต่งบทเรียนเป็นเพลงร้องง่ายๆ สิคะ สู้ๆ ค่ะ พี่ๆ ทีมงานวิชาการดอทคอม เป็นกำลังใจให้น้องๆ ทุกคนค่ะ 


............................................................................................

คุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ ที่ควรมีและปฎิบัติ






















คุณธรรม (Moral Principles)

คุณธรรม (Moral Principles)

       คุณธรรม คือ ความดีงามในจิตใจที่ทำให้บุคคลประพฤติดี ผู้มีคุณธรรมเป็นผู้มีความเคยชินในการประพฤติดีด้วยความรู้สึกในทางดีงาม คุณธรรมเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับกิเลสซึ่งเป็นความไม่ดีในจิตใจ ผู้มีคุณธรรมจึงเป็นผู้ที่  ไม่มากด้วยกิเลสซึ่งจะได้รับการยกย่องว่าเป็นคนดีคุณธรรมตามพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว      เมื่อกล่าวถึงคุณธรรมโดยทั่วไปจะระบุชื่อคุณธรรมว่าความละอายแก่ใจ ความเมตตากรุณา ความหวังดี ความซื่อสัตย์สุจริต

 ความเห็นอกเห็นใจ ความจริงใจ ความยุติธรรม ความเที่ยงตรงความเสียสละ ความสามัคคี ความอดทน ความอดกลั้น ความขยัน การให้อภัย ความเกรงใจและอื่น ๆ การฝึกฝน   และปฏิบัติตนให้มีคุณธรรม ไม่จำเป็นต้องพะวงในการเรียกชื่อคุณธรรม เพราะเป็นสิ่งที่ดีที่ทุกคนสามารถยึดถือปฏิบัติได้   โดยไม่ต้องคำนึงว่าเป็นของลัทธิใด การฝึกฝนคุณธรรมควรฝึกตาม ความต้องการและสภาพแวดล้อม ประเทศไทยในสมัยปัจจุบันกำลังมุ่งปลูกผังคุณธรรมสำหรับประชาชน ๔ ประการ

 เพื่อความร่มเย็นของชาติบ้านเมืองตามพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังนี้
    ๑. การรักษาความสัตย์ ความจริงใจต่อตัวเองที่จะประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม
    ๒. การรู้จักข่มใจตนเอง ฝึกใจตนเองให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัตย์ความดีนั้น
    ๓. การอดทน อดกลั้น และอดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัตย์สุจริตไม่ว่าจะด้วยประการใด
    ๔. การรู้จักละวางความชั่วความทุจริตและรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง 
     คุณธรรมตามแนวคิดของอริสโตเติล อริสโตเติลนักปราชญ์ชาวกรีก            ได้ให้แนวทางของคุณธรรมหลัก ๆ ไว้ ๔ ประการ คือ
     ๑. ความรอบคอบ คือ รู้ว่าอะไรควรประพฤติปฏิบัติ อะไรไม่ควรประพฤติปฏิบัติ
     ๒. ความกล้าหาญ คือ ความกล้าเผชิญต่อความเป็นจริง
     ๓. การรู้จักประมาณ คือ รู้จักควบคุมความต้องการและการกระทำให้เหมาะสมกับสภาพและฐานะของตน
     ๔. ความยุติธรรม คือ การให้แก่ทุกคนตามความเหมาะสม
       การพัฒนาบุคคลด้วยคุณธรรมต้องฝึกฝนให้มีความรู้สึกตระหนักว่าอะไรดี อะไรควร อะไรไม่ควร อะไรไม่ดี และ
ปฏิบัติแต่ในทางที่ถูกที่ควรให้เป็นปกติวิสัย   การพัฒนาในสิ่งดังกล่าวควรใช้สิ่งโน้มนำให้มีคุณธรรมสูง มีความระลึก
ได้ว่าอะไรไม่ควร และความรู้สึกตัวว่ากำลังทำอะไรอยู่     ผู้หวังความสงบสุขความเจริญและความมั่นคงแก่ตนเองและ
ประเทศชาติ ต้องฝึกฝนตนเองให้มีคุณธรรม     คุณธรรมเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นมากสำหรับบุคลากรที่พึงประสงค์
ขององค์การ องค์การควรให้  การส่งเสริมสนับสนุนและชักจูงให้บุคลากรขององค์การสนใจคุณธรรมและพร้อมปฏิบัติ
กับชีวิตการทำงานของตนเอง


จริยธรรม (Ethics)
     จริยธรรม เป็นสิ่งที่ควรประพฤติ มีที่มาจากบทบัญญัติหรือคำสั่งสอนของศาสนา หรือใครก็ได้ที่เป็นผู้มีจริยธรรม และได้รับความเคารพนับถือมาแล้วลักษณะของผู้มีจริยธรรม ผู้มีจริยธรรมจะเป็นผู้ที่มีคุณลักษณะดังนี้
     ๑. เป็นผู้ที่มีความเพียรความพยายามประกอบความดี ละอายต่อการปฏิบัติชั่ว
     ๒. เป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต ยุติธรรม และมีเมตตากรุณา
     ๓. เป็นผู้มีสติปัญญา รู้สึกตัวอยู่เสมอ ไม่ประมาท
     ๔. เป็นผู้ใฝ่หาความรู้ ความสามารถในการประกอบอาชีพ เพื่อความมั่นคง
     ๕. เป็นผู้ที่รัฐสามารถอาศัยเป็นแกนหรือฐานให้กับสังคม สำหรับการพัฒนาใด ๆ ได้
      แนวทางการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมที่กำหนดโดยรัฐบาล จากคุณสมบัติของผู้มีจริยธรรมดังกล่าว  แสดงถึงความเป็นคนมีคุณภาพ มีภาวะความเป็นผู้นำ         อันเป็นที่ต้องการขององค์การและสังคมทุกระดับ รัฐบาลไทยได้เห็นความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพของประชาชนในด้านจริยธรรมและคุณธรรมในสังคม จึงได้บรรจุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ ๘     โดยเน้นการพัฒนาจิตใจในลักษณะที่สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจ
และสังคมปัจจุบัน ซึ่งผลที่ปรากฏในปัจจุบันก็คือ    มีการเผยแผ่ธรรมะทางสื่อต่าง ๆ มากมาย วัดวาอารามก็ได้เข้ามามีส่วนร่วมส่วนช่วยในการอบรมสั่งสอนด้วย จริยธรรมเป็นจริยสมบัติ      หน่วยงานต่าง ๆ ก็ให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี คนไทยวัยหนุ่มสาวและเยาวชนได้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก จากที่เห็นได้จากสื่อและข่าวต่าง ๆ เนื่องจากจริยธรรมเป็นคุณสมบุติที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการวัดคุณภาพของคน    ซึ่งมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของประชากรทั้ง
ประเทศ รัฐบาลจึงได้กำหนดแนวทางการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมไว้ดังนี้
    ๑. พัฒนาจิตใจประชากรกลุ่มเป้าหมาย โดยให้ผู้นำแต่ละกลุ่มเป็นผู้บริหารเปลี่ยนแปลง
    ๒. ให้สถาบันของสังคมและครอบครัวทำหน้าที่อันถูกต้อง ชอบธรรมของตนเอง แก้ไขข้อบกพร่องโดยรีบด่วน
    ๓. บรรจุการพัฒนาจิตใจในหลักสูตร การฝึกอบรมทุกหลักสูตร และให้ดำเนินการพัฒนาต่อเนื่องต่อไป
    ๔. ให้มีการพัฒนาวิธีปลูกฝัง อบรม สั่งสอนศีลธรรม จริยธรรม ตามความเหมาะสมของกลุ่มเป้าหมายใสนใจ
    ๕. สร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมของสังคมอันได้แก่ศิลปะ วัฒนธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ถูกต้องดีงามตามหลักศีลธรรมและจริยธรรม 
 นอกจากการพัฒนาของรัฐบาลดังกล่าว      องค์การควรได้ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรขององค์การในวิธีเดียวกันในองค์การอีกแห่งหนึ่ง    เพื่อให้บุคลากรขององค์การเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่พึงประสงค์ขององค์การและประเทศชาติโดยแท้จริง    การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยวิธีดังกล่าวอาจเป็นส่วนหนึ่งสำหรับการพัฒนาองค์การ ที่สำคัญก็คือองค์
การควรให้มีการสร้างบรรยากาศหรือสภาวะแวดล้อมในการทำงานให้ดีด้วย ดังเช่นไม่ให้คนมีงานทำมากเกินไป  หรือน้อยเกินไป การพิจารณาความดีความชอบให้มีความยุติธรรม    และส่งเสริมด้วยมนุษยสัมพันธ์ภายในองค์การด้วย ซึ่งบรรยากาศที่ดีจะช่วยการพัฒนาจิตใจ     ในด้านสถาบันการศึกษาก็ควรได้มีการบรรจุหลักคุณธรรมไว้ในหลักสูตร เพื่อเป็นการพัฒนาและให้การศึกษากับคนทั้งชาติ เพื่อการพัฒนาจิตใจของคนในชาติให้มีคุณภาพ  
                    

    ศีลธรรม
 (Morality)
     ศีลธรรม มีความหมายคล้ายกันกับจริยธรรม คือเป็นเรื่องของความควรไม่ควรของพฤติกรรม ซึ่งเป็นเรื่องของมาตรฐานแห่งความประพฤติของบุคคล ศีลธรรมมีความโน้มเอียง       ที่จะเกี่ยวข้องกับทางศาสนาหรืออำนาจศักดิ์สิทธิ์ ส่วนจริยธรรมเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับมนุษยธรรมอันเป็นหลักปฏิบัติที่ถือว่าดีอยู่ในตัวเอง ศีลธรรมของทุกศาสนาเป็นข้อดีสำหรับยึดถือปฏิบัติทั้งสิ้น ศีลธรรมจึงเป็นคุณธรรม ศาสนาแต่ละศาสนาได้ระบุคุณธรรมและชื่อกิเลสไว้มากมาย ผู้ที่มีศีลธรรมก็คือผู้ที่มีคุณธรรมคุณธรรมที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดคุณธรรมไว้ประกอบที่ถือว่า      เป็นมิตรที่ดีงามของคนทั่วไปเรียกว่ากัลยาณมิตร คือ
   ๑. เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อมั่นในสิ่งที่ควรเชื่อ
   ๒. เป็นผู้มีศีล ประพฤติดี ประพฤติชอบ ไม่ทำชั่ว
   ๓. เป็นผู้มีการศึกษาอบรมดี
   ๔. เป็นผู้มีการสละให้ปัน
   ๕. เป็นผู้มีสติ ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี
   ๖. เป็นผู้มีความเพียร
   ๗. เป็นผู้มีสมาธิ มีจิตใจมั่นคง
   ๘. เป็นผู้มีปัญญา หยั่งรู้ว่าสิ่งใดดี ไม่ดี
       การพัฒนาด้วยศีลธรรมรัฐได้เห็นความสำคัญของการพัฒนาทางจิตใจของประชากรจนได้บรรจุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่๕ดังที่กล่าวมาแล้วในเรื่องการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม การพัฒนาด้านศีลธรรมนอกจากจะเป็นหน้าที่ของสถาบันทางสังคมแล้ว ยังเป็นหน้าที่ขององค์การที่จะให้การสนับสนุน อบรมและสร้างบรรยากาศให้บุคลากรได้รับการพัฒนาทาง  ด้านจิตใจให้เป็นผู้ที่มีศีลธรรมประจำใจ จะทำอะไรจะได้ยึดศีลธรรมเป็นหลักใน
การตัดสินใจ การที่บุคคลในองค์การมีคุณธรรมจริยธรรมและศีลธรรมประจำใจอยู่ในตัวจะมีผลให้บุคคลนั้นเป็นบุคคลที่มีบุคลิกภาพดีรู้จักตนเองมีความพร้อมและรู้จักที่จะพัฒนาบุคลิกภาพของตนเองเป็นอย่างดีซึ่งจะเป็นผลทำให้ทรัพยากรมนุษย์ของชาติได้รับการพัฒนาโดยส่วนรวม ซึ่งจะทำให้เกิดความผาสุกขึ้นในสังคมไทยอันเป็นที่รักของเราทุกคน
   


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม