ความนำ
เมื่อเอ่ยถึง " ครู" คนส่วนมากนึกถึงผู้ที่ยืนอยู่หน้าชั้นเรียนมีกระดานดำ(สีเขียว)อยู่ข้างหลังและในมือถือชอล์คสีขาว(ที่จริงชอล์คมีหลายสี)อาจแต่งเครื่องแบบสีกากีหรือสีของกรมหรือกระทรวงกำหนด
หรือสีประจำโรงเรียนนอกจากนั้นอาจแต่งสีฉูดฉาด ซีดเซียว แล้วแต่จะนึกลึกๆลงไปในความหมายของครูที่หลายคนเปรียบเทียบไว้ก็คือ " ครูคือเรือจ้างที่คอยพานาวาชีวิตของนักเรียนให้ไปถึงฝั่งโดยสวัสดิ
หรือสีประจำโรงเรียนนอกจากนั้นอาจแต่งสีฉูดฉาด ซีดเซียว แล้วแต่จะนึกลึกๆลงไปในความหมายของครูที่หลายคนเปรียบเทียบไว้ก็คือ " ครูคือเรือจ้างที่คอยพานาวาชีวิตของนักเรียนให้ไปถึงฝั่งโดยสวัสดิ
ภาพและอื่นๆในทำนองเดียวกัน
ผู้เขียนมิบังอาจเสนอแนะหรือบังคับให้ผู้อ่านคิดเช่นนั้นเช่นนี้ได้แต่ต้องการเน้นย้ำให้เกิดความเข้าใจในอาชีพครูว่า อาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง ต้องการใช้สหวิทยาการ(Inter - disciplinary)มาประกอบ
เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพต้องวิเคราะห์วิจัยผู้เรียน กระบวนการเรียน สิ่งแวดล้อม และปัจจัยอื่นๆตลอดเวลาไม่แตกต่างอันใดกับอาชีพหมอ แต่การวินิจฉัยโรคมีลักษณะแตกต่างกันเท่านั้นเพราะอาชีพหมอวินิจฉัยเรื่องความเจ็บป่วย แต่ครูวินิจฉัยโรค " ชีวิต" ทั้งชีวิตเลยก็ว่าได้ ดังนั้นจึงมีประโยคคุ้นๆหูให้ได้ยินมากมาย อาทิ
" สอนเด็กให้เป็นคนโดยสมบูรณ์ "
" สอนเขาไม่ให้เป็นลิงเป็นค่าง "
" สอนเขาเพื่อให้ไปประกอบอาชีพที่ดี "
" สอนเขาให้รับผิดชอบต่อสังคม "
" สอนเขาเพื่อให้เขารู้ " ฯลฯ
และนี้เองเป็นความหมายของชื่อบทความนี้
" เด็กสาวซื่อแซ่ซ้องสรรเสริญ " นั้นคือทำอย่างไรจะทำให้เด็กสาวที่ซื่อนั้นได้สร้างคุณงามความดีในชีวิตเขาเพื่อให้เราได้แซ่ซ้องสรรเสริญ เป็นผู้ที่รับผิดชอบต่อสังคมของเราจากประโยคนี้เองทำให้เกิด
ระบบการพัฒนาอาชีพครูที่ผู้เขียนได้คิดและจินตนาการขึ้นมาคือ
เด็ก สาว ซื่อ แซ่ ซ้อง สรรเสริญ
ดูด สับ ซับ ซึม ซัด สุด ส่าย
สมรรถภาพของความเป็นครู
ระบบการพัฒนาอาชีพครู จากประโยค " เด็กสาวซื่อแซ่ซ้องสรรเสริญ " และ
" ดูดสับซับซึมซัดสุดส่าย " สามารถนำมาเขียนเป็นแผนภูมิได้ดังนี้
" ดูดสับซับซึมซัดสุดส่าย " สามารถนำมาเขียนเป็นแผนภูมิได้ดังนี้
ซึม
ดูด สับ ซับ สุด ซัด ส่าย
แผนภูมิที่ 1 ระบบการพัฒนาอาชีพครู
องค์ประกอบของระบบมีดังนี้คือ
องค์ประกอบของระบบมีดังนี้คือ
1.ดูด (Input) หรือตัวป้อนสิ่งที่สำคัญยิ่งสำหรับอาชีพครูก็คือ การไม่หยุดนิ่งในทางวิชาการต้องศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์วิจัย เพื่อให้มีวามรู้ที่ก้าวหน้า กว้างไกลตลอดเวลา ต้องดูดความรู้ข่าวสาร ข้อมูลจากแหล่ง
วิชาการต่างๆ ด้วยการฟัง พูด อ่าน เขียน เสวนากับทุกชนชั้นทุกอาชีพ เพื่อให้มีโลกทัศน์ที่กว้างขวางที่ ดิ่งด่ำ ล้ำลึก รู้รอบ และทะลุลอดปลอดโปร่ง การดูดดังที่กล่าวต้องใช้ทั้งอายตนะภายนอกคือ การได้สัมผัส
ด้วยประสาททั้ง 5 เพื่อการรับรู้ และอายตนะภายในเพื่อการรับรู้ด้วยจิตใจ นำความรู้ ความคิด เจตนารมณ์ต่างๆมาวางแผนทั้งระยะยาวและระยะสั้น กำหนดจุดประสงค์ของการเรียนการสอนและจัดทำแผน
การสอนรายวันรายชั่วโมงให้ชัดเจนและจุดประสงค์ควรเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่สามารถ สังเกตุได้อย่างชัดเจน การตั้งจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมมีคำย่อเป็นภาษาอังกฤษให้จดจำได้ง่ายๆคือ
SMART = ความเฉลียวฉลาด เท่ห์ สง่างาม มีคำอธิบายดังนี้
วิชาการต่างๆ ด้วยการฟัง พูด อ่าน เขียน เสวนากับทุกชนชั้นทุกอาชีพ เพื่อให้มีโลกทัศน์ที่กว้างขวางที่ ดิ่งด่ำ ล้ำลึก รู้รอบ และทะลุลอดปลอดโปร่ง การดูดดังที่กล่าวต้องใช้ทั้งอายตนะภายนอกคือ การได้สัมผัส
ด้วยประสาททั้ง 5 เพื่อการรับรู้ และอายตนะภายในเพื่อการรับรู้ด้วยจิตใจ นำความรู้ ความคิด เจตนารมณ์ต่างๆมาวางแผนทั้งระยะยาวและระยะสั้น กำหนดจุดประสงค์ของการเรียนการสอนและจัดทำแผน
การสอนรายวันรายชั่วโมงให้ชัดเจนและจุดประสงค์ควรเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่สามารถ สังเกตุได้อย่างชัดเจน การตั้งจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมมีคำย่อเป็นภาษาอังกฤษให้จดจำได้ง่ายๆคือ
SMART = ความเฉลียวฉลาด เท่ห์ สง่างาม มีคำอธิบายดังนี้
S = Sensible คือ ความเป็นไปได้
M = Measurable คือ สามารถวัดได้
A = Attainable คือ ระบุสิ่งที่ต้องการ
R = Reasonable คือ ความมีเหตุผล
T = Time คือ มีขอบเขตเวลาการดำเนินงาน
M = Measurable คือ สามารถวัดได้
A = Attainable คือ ระบุสิ่งที่ต้องการ
R = Reasonable คือ ความมีเหตุผล
T = Time คือ มีขอบเขตเวลาการดำเนินงาน
สิ่งที่ต้องคำนึงในปัจจุบันนี้ก็คือ การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ เพื่อช่วยให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น นอกจากนั้นครูต้องเป็นผู้รวดเร็ว ฉับไว เปิดใจ
และเปิดช่องทางที่จะรับรู้ข่าวสาร ข้อมูลทางวิชาการจากสื่อทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นสื่อบุคคล สื่อสิ่งพิมพ์หรือสื่อ อีเลกทรอนิกส์ต่างๆโดยเฉพาะสื่อมวลชนที่เข้ามามีบทบาทอย่างยิ่งต่อวิถีการดำเนินชีวิตของ
มนุษย์เราจนกล่าวได้ว่าสังคมในปัจจุบันเป็นสังคมข่าวสารข้อมูล (Information Society) ที่ข้อมูลข่าวสารโหมกระหน่ำเข้าไปในชีวิตส่วนตัวของเรามากขึ้นเท่านั้น ตัวผู้เรียนเองก็ได้รับความรู้ข่าวสารจากสื่อ
เหล่านั้นตลอดเวลา หากครูไม่มีความรวดเร็ว ฉับไว และทันสมัยแล้วจะหล้าหลังในทางวิชาการกว่าผู้เรียนมาก ดังนั้นจึงจำเป็นที่ผู้สอนต้องวิเคราะห์ผู้เรียนให้ถ่องแท้ด้วยและจงระลึกเสมอว่าผู้ที่มีข่าวสารข้อ
มูลคือผู้ที่มีอำนาจ (Information is power)
และเปิดช่องทางที่จะรับรู้ข่าวสาร ข้อมูลทางวิชาการจากสื่อทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นสื่อบุคคล สื่อสิ่งพิมพ์หรือสื่อ อีเลกทรอนิกส์ต่างๆโดยเฉพาะสื่อมวลชนที่เข้ามามีบทบาทอย่างยิ่งต่อวิถีการดำเนินชีวิตของ
มนุษย์เราจนกล่าวได้ว่าสังคมในปัจจุบันเป็นสังคมข่าวสารข้อมูล (Information Society) ที่ข้อมูลข่าวสารโหมกระหน่ำเข้าไปในชีวิตส่วนตัวของเรามากขึ้นเท่านั้น ตัวผู้เรียนเองก็ได้รับความรู้ข่าวสารจากสื่อ
เหล่านั้นตลอดเวลา หากครูไม่มีความรวดเร็ว ฉับไว และทันสมัยแล้วจะหล้าหลังในทางวิชาการกว่าผู้เรียนมาก ดังนั้นจึงจำเป็นที่ผู้สอนต้องวิเคราะห์ผู้เรียนให้ถ่องแท้ด้วยและจงระลึกเสมอว่าผู้ที่มีข่าวสารข้อ
มูลคือผู้ที่มีอำนาจ (Information is power)
2. สับ ซับ ซึม ซัด (Process)
2.1 สับ หมายถึง การวิเคราะห์แยกย่อยความรู้ ข้อมูลทางวิชาการเหล่านั้น
ด้วยขันธ์ 5 ทั้งโดยวิธีนิรนัยและอุปนัยเพื่อให้มองเห็นหลักการทฤษฎีที่แท้จริง ครูจะต้องมีวิธีการสอนที่จะให้ผู้เรียนสามารถสับความรู้ที่มีอยู่และที่ได้รับจากการศึกษาค้นคว้าให้แหลกละเอียดและย่อยให้มอง
เห็นเป็นสัจจะของวิชาการแล้วจึงสำรอกออกมาโดยการประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับ สถานการณ์ และสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้นหลักการทางจิตวิทยาต้องนำมาใช้ในการกระตุ้นเร้าให้ผู้เรียนเกิดความอยากรู้ อยาก
เรียนด้วยวิธีการปูพื้นความรู้กว้างๆเกี่ยวกับเรื่องที่ผู้เรียนจะเรียนให้เขามองเห็นความสำคัญของเนื้อหา รวมไปถึงการประเมินความรู้พื้นฐานหรือความรู้เดิมของผู้เรียนก่อน
เมื่อสับหรือวิเคราะห์แยกย่อยความรู้เนื้อหาวิชาแล้วครูต้องสามารถใช้ลำดับขั้นการสอนและรูปแบบ (Model) หรือใช้กรรมวิธีในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม เพื่อสนับสนุนให้
ผูเรียน เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปสู่สัมฤทธิ์ผลตามวัตถุประสงค์ของการสอนซึ่งกรรมวิธีเหล่านั้นมีรากฐานของเหตุผล ประสบการณ์ ทฤษฎีการเรียนรู้และทฤษฎีจิตวิทยาเป็นแกนนำ ผู้เขียนอยากย้ำกระบวน
การการเรียนการสอนคือ " เร้าจุดเดิมเสนอแนะแสดงย้อนประจำ " สามารถอธิบายสั้นๆได้ดังนี้
เร้า หมายถึง การเร้าความสนใจของผู้เรียนให้มีความอยากรู้อยากเรียน
จุด หมายถึง การแจ้งจุดประสงค์ที่ชัดเจนอันเป็นแนวทางให้ผู้เรียนได้ตรวจสอบเสมอๆในขณะเรียน
เดิม หมายถึง การตรวจสอบความรู้เดิมของผู้เรียนจะโดยวิธีทดสอบก่อนเรียนหรือวิธีอื่นๆแล้วแต่จะเหมาะสม
เสนอ หมายถึง การเสนอความรู้เนื้อหาสาระอย่างมีระบบมีขั้นตอนที่ชัดเจนเข้าใจง่าย
แนะ หมายถึง แนะนำวิธีการเรียนให้กับผู้เรียนเนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันดังนั้นผู้สอนต้องแนะนำวิธีเรียนที่สอดคล้องกับความแตกต่างของแต่ละคนนั้น
แสดง หมายถึง การแสดงของผู้เรียนที่บ่งบอกถึงความรู้ความเข้าใจในเนิ้อหาสาระ ตลอดจนสามารถนำความรู้เหล่านั้นไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
ย้อน หมายถึง การตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับของผู้สอนโดยมีระบบการตรวจสอบที่รอบคอบเหมาะสม
ประ หมายถึง การประเมินทั้งกระบวนการและผลผลิต
จำ หมายถึง การแนะนำ ตอกย้ำ เพื่อให้ผู้เรียนได้มีวิธีการจดจำความรู้อย่างถาวร
ลำดับขั้นการสอนและรูปแบบสามารถแยกได้เป็น 2 ขั้ว คือแบบคิดมาบอกอยู่ปลายขั้วหนึ่งและแบบปล่อยให้คิดอยู่อีกขั้วหนึ่งและมีแบบนำให้คิดอยู่กึ่งกลางขั้ว
คิดมาบอก นำให้คิด ปล่อยให้คิด
(Expository) (Guided Discovery) (Discovery)
-บรรยาย -IDOS -CF-ID-AP
-นิรนัย -SPCP -OEPC
-อุปนัย
ฯลฯ
สืบสวนสอบสวน
สำหรับการสอนประเภทครูคิดมาบอก ซึ่งมีวิธีการบรรยายและวิธีการสอบแบบนิรนัยนั้นจะไม่ขอกล่าวในรายละเอียดมากเนื่องจากเป็นวิธีการที่คุ้นเคยและใช้กันอยู่อย่างกว้างขวาง เพียงแต่จะกล่าว
สั้นๆว่าการสอนแบบนิรนัย (Deductive teaching)มีลำดับขั้นตอนการสอน 3 ประการคือ
1. ให้คำนิยามหรือหลักการหรือให้นักเรียนจดจำ
2. อธิบายและยกตัวอย่างด้วยการพูด บรรยาย หรือ ปาฐกถา
3. บอกการนำไปใช้ให้นักเรียนจดจำไว้เป็นแบบอย่าง
ส่วนการสอนแบบบรรยายนั้น มีหลายประการที่ทำให้เกิดการล้มเหลว ซึ่งส่วนมากจากตัวผู้บรรยายเองดังนี้
1. ขาดความเข้าใจในเนื้อหาวิชาที่แท้จริง ตลอดจนรูปแบบการสื่อสารกับผู้เรียน ส่วนมากเป็นการสื่อสารแบบทางเดียว
2. ตัดขาดจากผู้ฟังโดยไม่สนใจว่าผู้ฟังจะมีความรู้สึกหรืออารมณ์อย่างไร
3. จดจ่ออยู่กับโน้ตการบรรยายเป็นส่วนใหญ่
4. มีน้ำเสียงที่ราบเรียบขาดการเน้นคำ ทำให้ขาดพลังการโน้มน้าว
5. เนื้อหาการพูดส่วนมากขาดการอ้างอิงถึงหรือเกี่ยวพันกับสภาพปัจจุบันบ้างครั้งมีเนื้อหากว้างเกินไป
6. ไม่ค่อยตระหนักว่าผู้ฟังมีพื้นฐานความรู้และความเข้าใจเช่นไร
7. ไม่สามารถแสดงให้ผู้ฟังเห็นความสำคัญของเนื้อหาที่ต้องเรียน
8. ลักษณะการบรรยายเป็นแบบหันรีหันขวางไม่เป็นไปตามลำดับที่เหมาะสม
9. ไม่มีการปรับการบรรยายเพื่อให้สอดคล้องกับเวลา
10.ใช้เวลามากในการปูภูมิหลังของเรื่องที่บรรยายจนไม่มีเวลาในการให้ความสนใจในเรื่องหลักการสำคัญที่จะบรรยาย
11.ใช้คำศัพท์ที่พิสดารยากในการทำความเข้าใจ
12.มัวอ้างอิงผู้รู้โดยมิได้สร้างความสนใจในเนื้อหา
13.นำข้อความของผู้รู้มาอ้างอิงจนพร่ำเพรื่อเกินความจำเป็น
14.ให้ความสำคัญกับการใช้คำที่ถูกต้องมากจนเกินไป
15.อ้างถึงเอกสารหรือหนังสือโดยที่ผู้ฟังไม่สามารถหาอ่านได้
16.แสดงความขัดแย้งกับผู้รู้อื่นๆในประเด็นที่ไม่น่าจะเป็นหลักสำคัญอะไร
17.ไม่พยายามปรับสภาพน้ำเสียง ท่วงที และการเน้น แม้รู้ว่าผู้ฟังกระสับกระส่าย เบื่อหน่ายหรืออาจจะหลับก็ได้
18.ให้ความสนใจและคำพูดในสาระที่อยู่นอกประเด็นหลัก
19.ขาดการใช้สื่ออื่นๆประกอบเพื่อสร้างความสนใจ
20.ใช้เสียงเบาหรือดังเกินไปอาจเกิดความรำคาญได้
การสอนประเภทนำให้คิด (Guided discovery)
การสอนแบบนี้มีรูปแบบการสอนมากมาย ขอหยิบยกมากล่าวพอเป็นตัวอย่างดังนี้
1. แบบ IDOS (นำ พัฒจัดย่อ) มีลักษณะดังนี้
ขั้นแนะนำ ขั้นพัฒนา ขั้นจัดระบบ ขั้นสรุปย่อ
Introduction Development Organization summarization
Introduction Development Organization summarization
สาระสำคัญของรูปแบบนี้ก็คือมีขั้นการนำเข้าสู่บทเรียนด้วยวิธีต่างๆแล้วครูเสนอวัตถุประสงค์การสอนมีการวางแผนการเรียนร่วมกันโดยใช้การอภิปราย ค้นคว้าเอกสาร ทัศนศึกษารวบรวมวัสดุสิ่งของต่างๆ
นำมาจัดระบบข้อมูล เสนอหน้าชั้นอาจมีอุปกรณ์ต่างๆประกอบเช่น แผนภูมิ รูปภาพ เอกสาร และขั้นสุดท้ายมีการสรุปร่วมกันของครูและนักเรียน จะเห็นได้ว่า รูปแบบนี้สามารถยืดหยุ่นได้ในแต่ละขั้นตอน
นำมาจัดระบบข้อมูล เสนอหน้าชั้นอาจมีอุปกรณ์ต่างๆประกอบเช่น แผนภูมิ รูปภาพ เอกสาร และขั้นสุดท้ายมีการสรุปร่วมกันของครูและนักเรียน จะเห็นได้ว่า รูปแบบนี้สามารถยืดหยุ่นได้ในแต่ละขั้นตอน
2. แบบ Operant Conditioning ของ สกินเนอร์ (B.F Skiner) (เสนอกำแก้ซ้ำวัด) มีลักษณะดังนี้
นำเสนอ กำหนดปัญหา ให้แก้ปัญหา ฝึกซ้ำ วัดผล
การตอบกลับ การตอบกลับ
สาระสำคัญของรูปแบบนี้ก็คือ ครูพิจารณาว่าผู้เรียนมีพื้นความรู้ในเนื้อหาที่จำเป็นแล้วหรือยังถ้ายังก็อาจบรรยายให้อ่านตำรา ศึกษาจากสื่อ แต่ถ้าผู้เรียนมีความรู้แล้วอาจจะข้ามขั้นการนำเสนอไปได้ แล้วครู
เสนอปัญหาให้ผู้เรียนช่วยกันแก้ปัญหาในขั้นนี้จะใช้คำถามหรือเสนอสื่ออุปกรณ์ก็ได้ทั้งนี้ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการสอน หลังจากนั้นให้ผู้เรียนตอบสนองต่อปัญหาหรือปฏิบัติกิจกรรมครูต้อง
เสริมแรงและให้ข้อมูลป้อนกลับตลอดเวลาและให้ผู้เรียนทำกิจกรรมเดิมซ้ำหลายๆครั้งจนเกิดระสิทธิภาพและแน่ใจว่าผู้เรียนมีความรู้เกิดทักษะ การวางเงื่อนไขเพื่อให้ผู้เรียนปฏิบัติและตอบสนองได้ต้องนำ
มาใช้และสุดท้ายต้องมีการประเมินวัดผล เพื่อตรวจสอบว่าบรรลุตามวัตถุประสงค์หรือไม่เพียงใด
เสนอปัญหาให้ผู้เรียนช่วยกันแก้ปัญหาในขั้นนี้จะใช้คำถามหรือเสนอสื่ออุปกรณ์ก็ได้ทั้งนี้ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการสอน หลังจากนั้นให้ผู้เรียนตอบสนองต่อปัญหาหรือปฏิบัติกิจกรรมครูต้อง
เสริมแรงและให้ข้อมูลป้อนกลับตลอดเวลาและให้ผู้เรียนทำกิจกรรมเดิมซ้ำหลายๆครั้งจนเกิดระสิทธิภาพและแน่ใจว่าผู้เรียนมีความรู้เกิดทักษะ การวางเงื่อนไขเพื่อให้ผู้เรียนปฏิบัติและตอบสนองได้ต้องนำ
มาใช้และสุดท้ายต้องมีการประเมินวัดผล เพื่อตรวจสอบว่าบรรลุตามวัตถุประสงค์หรือไม่เพียงใด
3. แบบเพียเจต์ (J.Piaget) ของเพียเจต์ซึ่งหลักทฤษฎีการเรียนรู้ มีลักษณะดังนี้
ให้สัมพันธ์ความรู้
เสนอความขัดแย้ง คำถาม ให้ปฏิบัติการ ให้จัดระบบ
เสนอแนะแนวคิด คำถาม คำถาม
สาระสำคัญของรูปแบบนี้ก็คือครูเสนอปัญหาหรือเหตุการณ์วัสดุต่างๆที่เป็นปัญหา ท้าทายให้ช่วยกันแก้ปัญหา เสร็จแล้วตั้งคำถามเพื่อให้ผู้เรียนระลึกถึงความรู้ที่มีอยู่สัมพันธ์กับปัญหาขณะเดียวกันครูเสนอ
แนะแนวคิด วิธีการที่นักเรียนจะใช้เพื่อแก้ปัญหาเสร็จแล้วนักเรียนลงมือปฏิบัติการแก้ปัญหาโดยยึดหลักที่ว่า การปฏิบัติด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดโดนครูคอยถามคำถาม แต่ไม่บอกวิธีการไม่มีการสาธิต
หรือยกตัวอย่างแต่อย่างใดและประการสุดท้ายให้นักเรียนสรุปจัดระบบความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติ โดยครูเป็นผู้คอยถามคำถามเพื่อให้มีการสรุปและจัดระบบความรู้นั้นเอง สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือการกล่าวชม
เชยกระตุ้นตลอดเวลา
แนะแนวคิด วิธีการที่นักเรียนจะใช้เพื่อแก้ปัญหาเสร็จแล้วนักเรียนลงมือปฏิบัติการแก้ปัญหาโดยยึดหลักที่ว่า การปฏิบัติด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดโดนครูคอยถามคำถาม แต่ไม่บอกวิธีการไม่มีการสาธิต
หรือยกตัวอย่างแต่อย่างใดและประการสุดท้ายให้นักเรียนสรุปจัดระบบความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติ โดยครูเป็นผู้คอยถามคำถามเพื่อให้มีการสรุปและจัดระบบความรู้นั้นเอง สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือการกล่าวชม
เชยกระตุ้นตลอดเวลา
4. แบบ SPCP โดยอาศัยทฤษฎีกระบวนการเรียนรู้ทางจิตวิทยา มีลักษณะดังนี้
Sensation Perception Conception Principles
รู้สึก กำหนดรู้ มโนทัศน์ หลักการ
สาระสำคัญของรูปแบบนี้ก็คือ การเร้าความรู้สึกให้กับผู้เรียนโดยการให้สัมผัสด้วยประสาทสัมผัสส่วนต่างๆ เสร็จแล้วครูซักถามเพื่อหยั่งการกำหนดรู้ของนักเรียนให้ตรงกับจุดมุ่งหมายอาจมีการอภิปรายให้
ข้อมูลด้วย หลังจากนั้นครูใช้คำถามให้นักเรียนนิยามหรืออธิบายมโนทัศน์ใหม่ๆและประการสุดท้ายกระตุ้นให้นักเรียนสร้างและค้นหาหลักการโดยอาศัยมโนทัศน์ที่มีอยู่ เกี่ยวกับเรื่องที่เรียนนั้น
ข้อมูลด้วย หลังจากนั้นครูใช้คำถามให้นักเรียนนิยามหรืออธิบายมโนทัศน์ใหม่ๆและประการสุดท้ายกระตุ้นให้นักเรียนสร้างและค้นหาหลักการโดยอาศัยมโนทัศน์ที่มีอยู่ เกี่ยวกับเรื่องที่เรียนนั้น
5. แบบรวมย่อยรวม มีลักษณะดังนี้
Whole Part Whole
ส่วนรวม ส่วนย่อย ส่วนรวม
สาระสำคัญของรูปแบบนี้ มีดังนี้ ขั้นแรกครูเสนอสาระเป็นส่วนรวมด้วยวิธีต่างๆเช่นแสดงให้ดู แจกเอกสาร ใช้สื่อต่างๆ เสร็จแล้วจึงเสนอสาระที่จัดไว้เป็นส่วนย่อยๆและเพื่อให้นักเรียนจดจำได้ดีจะให้นัก
เรียน วิเคราะห์ จำแนก จัดหมวดหมู่หาความสัมพันธ์ฝึกปฏิบัติ เล่นเกมส์ ทดสอบ เป็นต้น ขั้นสุดท้ายครูจึงทบทวนกฏที่เป็นสาระโดยวิธีย่อและรวมกฏเกณฑ์ต่างๆอีกครั้งหนึ่ง
เรียน วิเคราะห์ จำแนก จัดหมวดหมู่หาความสัมพันธ์ฝึกปฏิบัติ เล่นเกมส์ ทดสอบ เป็นต้น ขั้นสุดท้ายครูจึงทบทวนกฏที่เป็นสาระโดยวิธีย่อและรวมกฏเกณฑ์ต่างๆอีกครั้งหนึ่ง
6. แบบความรู้เชิงภาษาของดีเชคโค (Dececco) มีลักษณะดังนี้
วัตถุประสงค์ ปรับพฤติกรรม ดำเนินการสอบสวน วัดผล
รูปแบบนี้ใช้สอนภาษาและข้อเท็จจริงซึ่งมีลักษณะจำเพาะเจาะจงมีสาระสำคัญคือขั้นแรกครูเสนอวัตถุประสงค์ของการสอนว่าต้องการให้นักเรียมีพฤติกรรมเช่นไรโดยเฉพาะเป็นจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม
เสร็จแล้วครูพิจารณาความพร้อมของนักเรียน เสนอเนื้อหาที่ไม่เป็นระบบเพื่อสังเกตุดูความรู้พื้นฐานของนักเรียนแล้วจึงวัดผลก่อนเรียน (Pre-test) เพื่อให้ครูสามารถวิเคราะห์สื่อกิจกรรมและวิธีการสอน
ให้เหมาะสมกับความรู้เดิมของผู้เรียนหลังจากนั้นจึงดำเนินการสอนโดยการให้ฝึกฝนอภิปราย ท่องจำ กำหนดระยะเวลาฝึก บอกแนวทางการตอบสนอง เป็นต้น ขั้นสุดท้ายคือการวัดและประเมินผล เพื่อตรวจสอบผลการเรียนรู้ของนักเรียน
เสร็จแล้วครูพิจารณาความพร้อมของนักเรียน เสนอเนื้อหาที่ไม่เป็นระบบเพื่อสังเกตุดูความรู้พื้นฐานของนักเรียนแล้วจึงวัดผลก่อนเรียน (Pre-test) เพื่อให้ครูสามารถวิเคราะห์สื่อกิจกรรมและวิธีการสอน
ให้เหมาะสมกับความรู้เดิมของผู้เรียนหลังจากนั้นจึงดำเนินการสอนโดยการให้ฝึกฝนอภิปราย ท่องจำ กำหนดระยะเวลาฝึก บอกแนวทางการตอบสนอง เป็นต้น ขั้นสุดท้ายคือการวัดและประเมินผล เพื่อตรวจสอบผลการเรียนรู้ของนักเรียน
7. แบบวิธีอุปนัย (Inductive Approach) มีลำดับขั้นตอนดังนี้
เสนอมโนทัศน์ทางบวก ระบุคุณลักษณะ จำแนก บอกมโนทัศน์ วัดผล
สาระสำคัญของรูปแบบนี้ มีลักษณะดังนี้คือขั้นแรกครูให้ตัวอย่างที่เป็นมโนทัศน์เชิงบวกซึ่งอาจเป็นรูปภาพของจริงหรือให้ประสบการณ์ตรงเสร็จแล้วให้นักเรียนระบุคุณลักษณะร่วมกันของตัวอย่างหรือ
มโนทัศน์ที่ครูนำเสนอเสนอซึ่งอาจใช้การนิยามศัพท์การอธิบายเป็นต้นหลังจากนั้นจึงให้นักเรียนจำแนกแยกแยะเปรียบเทียบโดยครูให้ตัวอย่างใหม่ที่มีความแตกต่างกันต่อจากนั้นให้นักเรียนชี้ชัด ระบุลง
ไปว่าตัวอย่างที่ให้ครั้งแรกนั้นเป็นอย่างไร มีลักษณะใดนั้นคือการบอกมโนทัศน์ที่สำคัญ ขั้นตอนสุดท้ายจึงวัดผลตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของนักเรียน
มโนทัศน์ที่ครูนำเสนอเสนอซึ่งอาจใช้การนิยามศัพท์การอธิบายเป็นต้นหลังจากนั้นจึงให้นักเรียนจำแนกแยกแยะเปรียบเทียบโดยครูให้ตัวอย่างใหม่ที่มีความแตกต่างกันต่อจากนั้นให้นักเรียนชี้ชัด ระบุลง
ไปว่าตัวอย่างที่ให้ครั้งแรกนั้นเป็นอย่างไร มีลักษณะใดนั้นคือการบอกมโนทัศน์ที่สำคัญ ขั้นตอนสุดท้ายจึงวัดผลตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของนักเรียน
8. แบบการสอนมโนทัศน์ของดีเชคโค (Dececco) มีลักษณะดังนี้
แจ้งวัตถุประสงค์ ให้มโนทัศน์ทางวาจา แสดงตัวอย่างมโนทัศน์เชิงบวกและเชิงลบ
แสดงตัวอย่างใหม่ๆ แสดงตัวอย่างเชิงบวก ตรวจสอบการเรียนรู้ กำหนดนิยาม
ให้ตอบสนอง ใหม่ๆ
ให้ตอบสนอง ใหม่ๆ
สาระสำคัญของรูปแบบนี้มีดังนี้คือขั้นแรกครูแจ้งวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนต่อจากนั้นสนทนาเกี่ยวกับมโนทัศน์ ซึ่งอาจมีบัตรคำประกอบด้วยก็ได้แล้วครูจึงแสดงตัวอย่างต่างๆที่มีทั้งเชิงบวกคือเกี่ยว
ข้องกับเนื้อหาที่จะสอนกับเชิงลบคือเกี่ยวกับเนื้อหาอื่นๆควบคู่กันไปและมีการนำตัวอย่างใหม่ๆมาให้ดูให้พิจารณาซึ่งมีทั้งเชิงบวกและลบเช่นกัน ต่อจากนั้นครูจึงตรวจสอบว่านักเรียนมีความแม่นยำ จดจำ
และเข้าใจเนื้อหาที่สอนมากน้อยเพียงใดและขั้นสุดท้ายครูจะให้นักเรียนอธิบายมโนทัศน์ด้วยคำพูดของเขาว่ามโนทัศน์ที่เกี่ยวกับเนื้อหาที่สอนนั้นมีลักษณะเช่นไร
ข้องกับเนื้อหาที่จะสอนกับเชิงลบคือเกี่ยวกับเนื้อหาอื่นๆควบคู่กันไปและมีการนำตัวอย่างใหม่ๆมาให้ดูให้พิจารณาซึ่งมีทั้งเชิงบวกและลบเช่นกัน ต่อจากนั้นครูจึงตรวจสอบว่านักเรียนมีความแม่นยำ จดจำ
และเข้าใจเนื้อหาที่สอนมากน้อยเพียงใดและขั้นสุดท้ายครูจะให้นักเรียนอธิบายมโนทัศน์ด้วยคำพูดของเขาว่ามโนทัศน์ที่เกี่ยวกับเนื้อหาที่สอนนั้นมีลักษณะเช่นไร
9. แบบการสอนหลักการของดีเชคโค (Dececco) มีลักษณะดังนี้
แจ้งวัตถุประสงค์ ระลึกมโนทัศน์พื้นฐาน จัดมโนทัศน์เป็นแบบแผน สาธิตหลักการ
อธิบายหลักการ ตรวจสอบการเรียนรู้
สาระสำคัญของรูปแบบนี้มีดังนี้คือ ขั้นแรกครูแจ้งวัตถุประสงค์ ต่อจากนี้ครูแสดงอุปกรณ์และใช้คำถามเพื่อให้นักเรียนได้ทบทวนมโนทัศน์ที่เป็นพื้นฐานเสร็จแล้วให้นักเรียนจัดแบบแผนของมโนทัศน์
โดยที่ครูมีข้อมูลย้อนกลับเพื่อให้เด็กได้ทราบว่าที่ตัวเองจัดแบบแผนนั้นถูกต้องหรือไม่จากนั้นครูตั้งปัญหาให้นักเรียนช่วยกันพิจารณาและแก้ปัญหา มีการแสดงและสาธิตสิ่งที่ปฏิบัตินั้นแล้วจึงอธิบายหลักการ
ทั้งหมด ขั้นสุดท้ายเป็นการตรวจสอบว่านักเรียนเรียนรู้ได้ถูกต้องหรือไม่เพียงใด
โดยที่ครูมีข้อมูลย้อนกลับเพื่อให้เด็กได้ทราบว่าที่ตัวเองจัดแบบแผนนั้นถูกต้องหรือไม่จากนั้นครูตั้งปัญหาให้นักเรียนช่วยกันพิจารณาและแก้ปัญหา มีการแสดงและสาธิตสิ่งที่ปฏิบัตินั้นแล้วจึงอธิบายหลักการ
ทั้งหมด ขั้นสุดท้ายเป็นการตรวจสอบว่านักเรียนเรียนรู้ได้ถูกต้องหรือไม่เพียงใด
10. แบบการสอนความสัมพันธ์ (หลักการ) ของกาเย่ (Gagne') มีลักษณะดังนี้
แจ้งวัตถุประสงค์ เตรียมนักเรียน กำหนดความสัมพันธ์ สาธิต สรุปความสัมพันธ์
สาระสำคัญของรูปแบบนี้มีดังนี้ ขั้นแรกครูแจ้งวัตถุประสงค์ เสร็จแล้วถามนักเรียนเพื่อให้นึกถึงมโนทัศน์ที่เป็นพื้นฐานอันถือว่าเป็นการเตรียมความพร้อม หลังจากนั้นครูชี้แจงกฏและหลักการโดยยึดความ
สัมพันธ์ของมโนทัศน์เดิมกับหลักการใหม่ ต่อจากนั้นให้นักเรียนนำหลักการไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ และขั้นสุดท้ายมีการสรุปกฏและหลักการที่สมบูรณ์
สัมพันธ์ของมโนทัศน์เดิมกับหลักการใหม่ ต่อจากนั้นให้นักเรียนนำหลักการไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ และขั้นสุดท้ายมีการสรุปกฏและหลักการที่สมบูรณ์
11. แบบการสอนการแก้ปัญหาของดีเชคโค (DeCeceo) มีลักษณะดังนี้
แจ้งวัตถุประสงค์ ตรวจสอบพื้นฐาน ระลึกมโนทัศน์ หาวิธีการแก้ปัญหา ตรวจผลการแก้ปัญหา
สาระสำคัญของรูปแบบนี้มีดังนี้คือ ขั้นแรกครูแจ้งจุดประสงค์จากนั้นตรวจสอบดูว่านักเรียนมีความรู้ มโนทัศน์หรือหลักการเกี่ยวกับปัญหานั้นมากน้อยเพียงใด ถ้าไม่มีต้องสอนวิธีการแก้ปัญหาก่อนและ
ต้องให้นักเรียนสามารถระลึกถึงมโนทัศน์เดิมกับหลักการใหม่ๆที่สัมพันธ์กันด้วยวิธีการสาธิตบางสิ่งบางอย่าง แล้วให้นักเรียนคิดค้นหาวิธีแก้ปัญหาในขั้นสุดท้ายคือตรวจผลการแก้ปัญหาและนำไปใช้แก้ปัญหาอื่นๆที่สามารถถ่ายโอนกันได้
ต้องให้นักเรียนสามารถระลึกถึงมโนทัศน์เดิมกับหลักการใหม่ๆที่สัมพันธ์กันด้วยวิธีการสาธิตบางสิ่งบางอย่าง แล้วให้นักเรียนคิดค้นหาวิธีแก้ปัญหาในขั้นสุดท้ายคือตรวจผลการแก้ปัญหาและนำไปใช้แก้ปัญหาอื่นๆที่สามารถถ่ายโอนกันได้
12. แบบการสอนเจตคติและค่านิยมโดยอาศัยทฤษฎีของแบบดูรา (Bandura) มีลักษณะดังนี้
แบบอย่าง สนใจ ทรงจำ กระทำ เสริมแรง เจตคติ
สาระสำคัญของรูปแบบนี้คือ ครูแสดงแบบอย่างเจตคติและค่านิยมที่ดีให้นักเรียนดูอาจใช้ภาพยนต์ ข่าวสาร หรือสื่อต่างๆและครูแสดงความสนใจ ชื่นชม พอใจในสิ่งนั้นๆให้นักเรียนได้เห็นอันเป็นแบบ
อย่างที่ดี จากนั้นครูกระตุ้นนักเรียนด้วยคำถามเพื่อให้นักเรียนจดจำไว้ว่าสิ่งที่เสนอนั้นมีคุณประโยชน์หรือน่าสนใจในแง่ใด และต้องเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงหรือกระทำสิ่งนั้นด้วยตัวเขาเอง ครูเป็น
คนกล่าวชมเชย ให้ข้อเสนอแนะอันเป็นการเสริมแรงทางบวก เพื่อให้เกิดเจตคติที่ดีต่อไป
อย่างที่ดี จากนั้นครูกระตุ้นนักเรียนด้วยคำถามเพื่อให้นักเรียนจดจำไว้ว่าสิ่งที่เสนอนั้นมีคุณประโยชน์หรือน่าสนใจในแง่ใด และต้องเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงหรือกระทำสิ่งนั้นด้วยตัวเขาเอง ครูเป็น
คนกล่าวชมเชย ให้ข้อเสนอแนะอันเป็นการเสริมแรงทางบวก เพื่อให้เกิดเจตคติที่ดีต่อไป
13. แบบการสอนทักษะคือทั้งแบบลองผิดลองถูกและแบบอธิบายประกอบการสาธิต ซึ่งมีลักษณะดังนี้
แสดงทักษะที่ถูกต้อง อธิบายประกอบ นักเรียนฝึกทักษะ ข้อมูลย้อนกลับ วัดผล
สาระสำคัญของรูปแบบนี้มีดังนี้คือ ครูสาธิตทักษะที่จะสอนให้นักเรียนดูพร้อมทั้งอธิบายประกอบทักษะนั้นๆเพื่อให้นักเรียนสามารถอธิบายลำดับขั้นและการใช้ประกอบทักษะได้จากนั้นให้นักเรียนฝึก
ทักษะด้วยตนเองเพื่อสร้างความมั่นใจ และมีทักษะที่ถูกต้อง ครูแจ้งผลย้อนกลับเพื่อเป็นการตรวจสอบผลการปฏิบัติทักษะของนักเรียนอันถือว่าเป็นการวัดผลนั้นเอง
ทักษะด้วยตนเองเพื่อสร้างความมั่นใจ และมีทักษะที่ถูกต้อง ครูแจ้งผลย้อนกลับเพื่อเป็นการตรวจสอบผลการปฏิบัติทักษะของนักเรียนอันถือว่าเป็นการวัดผลนั้นเอง
การสอนประเภทปล่อยให้คิด (Discovery)
หมายถึง การสอนที่ครูช่วยเหลือแนะนำเพียงเล็กน้อยหรือไม่แนะนำใดๆเลย การสอนแบบนี้เชื่อว่าดีกว่าแบบอื่นในแง่การฝึกให้คิด แต่การวิจัยพบว่าแบบนำให้คิดนั้นได้ผลดีที่สุด ดังนั้นการเลือกแบบการสอน
ควรคำนึงถึงจุดประสงค์เป็นหลัก การสอนประเภทปล่อยให้คิดมีรูปแบบที่รู้จักอยู่ 2 รูปแบบคือ
หมายถึง การสอนที่ครูช่วยเหลือแนะนำเพียงเล็กน้อยหรือไม่แนะนำใดๆเลย การสอนแบบนี้เชื่อว่าดีกว่าแบบอื่นในแง่การฝึกให้คิด แต่การวิจัยพบว่าแบบนำให้คิดนั้นได้ผลดีที่สุด ดังนั้นการเลือกแบบการสอน
ควรคำนึงถึงจุดประสงค์เป็นหลัก การสอนประเภทปล่อยให้คิดมีรูปแบบที่รู้จักอยู่ 2 รูปแบบคือ
1. แบบการสอนเชิงยุทธศาสตร์ของทาบา (TaBa) มีลักษณะดังนี้
Concept Formation Interpretation Application of Principle
of Data and Fact
of Data and Fact
สร้างมโนทัศน์ แปลความหมายข้อมูล ประยุกต์หลักการความจริง
สาระสำคัญของรูปแบบนี้มีดังนี้คือขั้นแรกครูใช้คำถามเพื่อให้ผู้เรียนสร้างมโนทัศน์ (CF) คำถามที่ใช้อาจเกี่ยวกับการนับและแจกแจง การระบุคุณสมบัติหรือการจัดหมวดหมู่ขั้นที่ 2 ครูให้นักเรียนตีความ
หมายหรือแปลความหมายข้อมูล (ID) โดยใช้เหตุผลเชิงอุปนัยคำถามที่ครูใช้ถามในขั้นนี้ต้องช่วยให้สามารถระบุความคล้ายคลึงและความแตกต่างได้ขั้นสุดท้าย ครูให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการคิดโดยใช้เหตุผล
เชิงนิรนัยเพื่อประยุกต์หลักการ (AP) ครูจะใช้คำถามให้นักเรียนทำนายผลหรือตั้งสมมุติฐานและหาข้ออธิบายเพื่อตรวจสอบสมมุติฐานที่ตั้งไว้นั้น
หมายหรือแปลความหมายข้อมูล (ID) โดยใช้เหตุผลเชิงอุปนัยคำถามที่ครูใช้ถามในขั้นนี้ต้องช่วยให้สามารถระบุความคล้ายคลึงและความแตกต่างได้ขั้นสุดท้าย ครูให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการคิดโดยใช้เหตุผล
เชิงนิรนัยเพื่อประยุกต์หลักการ (AP) ครูจะใช้คำถามให้นักเรียนทำนายผลหรือตั้งสมมุติฐานและหาข้ออธิบายเพื่อตรวจสอบสมมุติฐานที่ตั้งไว้นั้น
2. แบบการสอนสืบสวนสอบสวน (Inquiry method) หรือเรียกว่า OEPC มีลักษณะดังนี้
Observation Explanation Prediction Control
สังเกตุ(ปัญหา) อธิบาย(จากปัญหา) ทำนาย(สิ่งอื่น) ควบคุม(ประยุกต์ใช้)
สาระสำคัญของรูปแบบนี้มีดังนี้คือ ขั้นแรกครูสร้างแรงจูงใจโดยการเสนอปัญหาด้วยวิธีการทดลองให้ดูหรือด้วยวิธีการอื่นๆที่มีเนื้อหาสัมพันธ์กับความรู้เดิมของผู้เรียน ขั้นที่สอง ครูอธิบายปัญหาและให้
ผู้เรียนช่วยกันสร้างทฤษฎีหลักการและสมมุติฐานที่มีความสัมพันธ์กัน ขั้นที่สามครูให้นักเรียน ทำนาย ทดสอบ และสรุปกฏเกณฑ์เพื่อตอบสมมุติฐานดังกล่าวและขั้นที่สี่ครูให้นักเรียนได้บอกวิธีการนำกฏ
เกณฑ์ไปใช้ จะเห็นว่ารูปแบบนี้เน้นการหาคำตอบด้วยการถามและคิดตอบด้วยผู้เรียนเอง โดยเน้นหนักไปในทางการคิดไม่ใช้การปฏิบัติต่อปัญหา รูปแบบนี้นิยมใช้สอนเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์
เพื่อฝึกการคิดค้นอย่างนักวิทยาศาสตร์และนำไปใช้กับวิชาอื่นๆในบางเรื่องที่เน้นพฤติกรรมการคิด รูปแบบ OEPC นี้เป็นรูปแบบที่อยู่ระหว่างการนำให้คิดกับการปล่อยให้คิดทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเทคนิคการสอน
ของครูว่าต้องการเน้นหนักในวิธีการใด
ผู้เรียนช่วยกันสร้างทฤษฎีหลักการและสมมุติฐานที่มีความสัมพันธ์กัน ขั้นที่สามครูให้นักเรียน ทำนาย ทดสอบ และสรุปกฏเกณฑ์เพื่อตอบสมมุติฐานดังกล่าวและขั้นที่สี่ครูให้นักเรียนได้บอกวิธีการนำกฏ
เกณฑ์ไปใช้ จะเห็นว่ารูปแบบนี้เน้นการหาคำตอบด้วยการถามและคิดตอบด้วยผู้เรียนเอง โดยเน้นหนักไปในทางการคิดไม่ใช้การปฏิบัติต่อปัญหา รูปแบบนี้นิยมใช้สอนเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์
เพื่อฝึกการคิดค้นอย่างนักวิทยาศาสตร์และนำไปใช้กับวิชาอื่นๆในบางเรื่องที่เน้นพฤติกรรมการคิด รูปแบบ OEPC นี้เป็นรูปแบบที่อยู่ระหว่างการนำให้คิดกับการปล่อยให้คิดทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเทคนิคการสอน
ของครูว่าต้องการเน้นหนักในวิธีการใด
รูปแบบการสอนแบบปล่อยให้คิดที่น่าจะส่งเสริมและเป็นคุณลักษณะตลอดจนเนื้อหาแบบไทยๆก็คือรูปแบบการสอนแบบ อริยสัจ 4 ที่มีลักษณะเป็นการสอนเชิงวิทยาศสาตร์มีรูปแบบดังนี้
ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
กำหนดปัญหา ตั้งสมมุติฐาน ทดลองค้นคว้า สรุปนำไปใช้
ดังนั้นจะเห็นได้ว่ารูปแบบการสอนแบบอริยสัจ 4 ต้องการให้ผู้เรียนได้เกิดความรู้ความเข้าใจในปัญหาด้วยตนเองแล้วหาวิธีแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการหลากหลายและทดลองค้นควาอย่างละเอียดถี่ถ้วนก่อน
การสรุปและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป
การสรุปและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป
2.2 ซับ หมายถึงการสัมผัสเพื่อให้เกิดความรู้โดยการมีข่าวสารข้อมูลที่ละเอียดครูผู้สอนต้องเป็นผู้ที่มีความก้าวหน้าในเชิงวิชาการอยู่เสมอๆหากจัดประเภทของมนุษย์ออกเป็น 6 ประเภทคือ หัวไวใจสู้
ขอดูทีท่า เบิ่งตาลังเล หัวเหหัวดื้อ งอมืองอเท้า และไม่เอาไหนเลย ครูต้องอยู่กลุ่มแรกคือหัวไวใจสู้ มิฉะนั้นอาจตามไม่ทันผู้เรียนหรือตามโลกวิชาการไม่ทันก็ได้ ดังนั้นต้องพัฒนาศักยภาพของคนเสมอๆ
ขอดูทีท่า เบิ่งตาลังเล หัวเหหัวดื้อ งอมืองอเท้า และไม่เอาไหนเลย ครูต้องอยู่กลุ่มแรกคือหัวไวใจสู้ มิฉะนั้นอาจตามไม่ทันผู้เรียนหรือตามโลกวิชาการไม่ทันก็ได้ ดังนั้นต้องพัฒนาศักยภาพของคนเสมอๆ
2.3 ซึม หมายถึงการเกิดความซาบซึ้งมีจิตใจรักและชอบในงานที่ตนเองรับผิดชอบอยู่คือการจัดสภาพการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุดด้วยการศึกษาหาวิธีการต่างๆอันหลากหลาย
(Variety) มาใช้และต้องไม่ลืมว่า" ถ้าไม่ได้ทำงานที่ตนเองรัก ก็จงรักงานที่ตัวเองทำ " เพื่อจะได้สร้างความรู้สึกที่ดีต่องานเพื่อนร่วมงานและผู้เรีนนด้วย การสร้างความรักความชอบมีเจตคติที่ดีต่องานที่ทำอยู่
นั้นครูต้องหายุทธวิธีต่างเพื่อโน้มน้าวใจให้กับตนเอง ขณะเดียวกันการสอนก็ควรหายุทธวิธีต่าง เพื่อโน้มน้าวใจให้ผู้เรียนรักชอบวิชาที่ตนเองสอนนั้นด้วย
(Variety) มาใช้และต้องไม่ลืมว่า" ถ้าไม่ได้ทำงานที่ตนเองรัก ก็จงรักงานที่ตัวเองทำ " เพื่อจะได้สร้างความรู้สึกที่ดีต่องานเพื่อนร่วมงานและผู้เรีนนด้วย การสร้างความรักความชอบมีเจตคติที่ดีต่องานที่ทำอยู่
นั้นครูต้องหายุทธวิธีต่างเพื่อโน้มน้าวใจให้กับตนเอง ขณะเดียวกันการสอนก็ควรหายุทธวิธีต่าง เพื่อโน้มน้าวใจให้ผู้เรียนรักชอบวิชาที่ตนเองสอนนั้นด้วย
2.4 ซัด หมายถึงการตรวจสอบกระบวนการเรียนการสอนอยู่เสมอๆเพื่อหาข้อบกพร่องแล้วหาวิธีแก้ไขให้ดีที่สุดครูต้องจดจำอยู่เสมอว่าการสอนนั้นคือการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความอยากเรียน ไม่ใช่การ
บอกหรือยัดเยียดเนื้อหาให้กับผู้เรียน (Teaching is inspire not instruct) และทำอย่างไรผู้เรียนจึงจะเรียนได้และเรียนได้ดีมิใช่ได้เรียนแต่เป็นการเรียนที่รู้จักวิธีการเรียน (Learning how to learn) อย่างมี
ประสิทธิภาพ ไม่สิ้นเปลืองเวลา งบประมาณและพลังงานนั้นเอง
ในกระบวนการ สับ ซับ ซึม ซัด (Process) นี้เป็นสิ่งหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่และบทบาทของครูคือการใช้เทคโนโลยีการสอนเข้ามาประยุกต์ใช้ซึ่งครูรู้จักเทคโนโลยีการสอนหรือสื่อการสอนเป็นอย่าง
ดี ผู้เขียนขอเสนอระบบการใช้สื่อการสอนที่ได้คิดขึ้นมาเพื่อช่วยให้จดจำได้ดียิ่งขึ้นมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า "SPARED" อันหมายถึงการสะสมเก็บรวบรวมและค้นคว้าเพื่อเก็บไว้เป็นอะไหล่อยู่ตลอดเวลา
นั้นคือครูต้องมีความรู้ที่เป็นอะไหล่ มีสื่ออุปกรณ์และวิธีการที่เป็นอะไหล่อยู่เสมอเพื่อให้การเรียนการสอนสามารถยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม SPARED มีรายละเอียดดังนี้
S = State Target Audieness and Objectives
หมายถึงการกำหนดกลุ่มผู้เรียนและจุดประสงค์ในการกำหนดกลุ่มผู้เรียนต้องมีการวิเคราะห์ผู้เรียนอย่างละเอียดก่อน ทั้งสภาพร่างกาย จิตใจ ความพร้อม ความรู้พื้นฐานต่างๆเพื่อนำไปกำหนดจุดประสงค์
ของการนำสื่อชนิดต่างๆมาใช้ให้สอดคคล้องกับการกำหนดจุดประสงค์ของการเรียนดังนั้นต้องยึดวัตถุประสงค์ของการเรียนเป็นหลัก
P = Planning
หมายถึงการเตรียมสื่อต่างๆให้พร้อมมีลำดับขั้นตอนของการใช้สื่อแต่ละชนิดมีการเลือกสื่อที่เหมาะสมกับตัวผู้เรียนและจุดประสงค์ที่ได้วิเคราะห์อย่างละเอียดมาแล้ว
A = Administering
หมายถึงการนำสื่อที่ตระเตรียมไว้อย่างดีนั้นไปใช้ตามขั้นตอนที่กำหนด
R = Required Learners Responses
หมายถึงการกำหนดการตอบสนองของผู้เรียนซึ่งครูต้องกำหนดให้ชัดเจนว่าต้องการให้ผู้เรียนมีพฤติกรรมและแสดงออกอย่างไรบ้างและสื่อที่จะนำมาใช้นั้นครูต้องเป็นผู้ใช้หรือนักเรียนเป็นผู้ใช้เมื่อใช้สื่อ
นั้นจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือการเรียนรู้อย่างไร
E = Evaluation
หมายถึงการประเมินการตรวจสอบระบบการใช้สื่อเสมอๆเพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง อันถือว่าเป็นการพัฒนาระบบการใช้สื่อให้ดียิ่งๆขึ้น นอกจากนั้นอาจต้องทำการวิเคราะห์วิจัยสื่อที่นำมาใช้เพื่อให้ได้สื่อที่มี
ประสิทธิภาพเป็นมาตรฐานต่อไป
D = Diffusion
หมายถึงการเผยแพร่เพื่อให้ผู้ที่มีอาชีพครูด้วยกันได้รู้ได้นำไปใช้ มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดในเรื่องระบบการใช้สื่อและวิชาการต่างๆกันอยู่ตลอดเวลาอันหมายถึงการพัฒนาวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพ
ชั้นสูงตลอดไป
บอกหรือยัดเยียดเนื้อหาให้กับผู้เรียน (Teaching is inspire not instruct) และทำอย่างไรผู้เรียนจึงจะเรียนได้และเรียนได้ดีมิใช่ได้เรียนแต่เป็นการเรียนที่รู้จักวิธีการเรียน (Learning how to learn) อย่างมี
ประสิทธิภาพ ไม่สิ้นเปลืองเวลา งบประมาณและพลังงานนั้นเอง
ในกระบวนการ สับ ซับ ซึม ซัด (Process) นี้เป็นสิ่งหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่และบทบาทของครูคือการใช้เทคโนโลยีการสอนเข้ามาประยุกต์ใช้ซึ่งครูรู้จักเทคโนโลยีการสอนหรือสื่อการสอนเป็นอย่าง
ดี ผู้เขียนขอเสนอระบบการใช้สื่อการสอนที่ได้คิดขึ้นมาเพื่อช่วยให้จดจำได้ดียิ่งขึ้นมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า "SPARED" อันหมายถึงการสะสมเก็บรวบรวมและค้นคว้าเพื่อเก็บไว้เป็นอะไหล่อยู่ตลอดเวลา
นั้นคือครูต้องมีความรู้ที่เป็นอะไหล่ มีสื่ออุปกรณ์และวิธีการที่เป็นอะไหล่อยู่เสมอเพื่อให้การเรียนการสอนสามารถยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม SPARED มีรายละเอียดดังนี้
S = State Target Audieness and Objectives
หมายถึงการกำหนดกลุ่มผู้เรียนและจุดประสงค์ในการกำหนดกลุ่มผู้เรียนต้องมีการวิเคราะห์ผู้เรียนอย่างละเอียดก่อน ทั้งสภาพร่างกาย จิตใจ ความพร้อม ความรู้พื้นฐานต่างๆเพื่อนำไปกำหนดจุดประสงค์
ของการนำสื่อชนิดต่างๆมาใช้ให้สอดคคล้องกับการกำหนดจุดประสงค์ของการเรียนดังนั้นต้องยึดวัตถุประสงค์ของการเรียนเป็นหลัก
P = Planning
หมายถึงการเตรียมสื่อต่างๆให้พร้อมมีลำดับขั้นตอนของการใช้สื่อแต่ละชนิดมีการเลือกสื่อที่เหมาะสมกับตัวผู้เรียนและจุดประสงค์ที่ได้วิเคราะห์อย่างละเอียดมาแล้ว
A = Administering
หมายถึงการนำสื่อที่ตระเตรียมไว้อย่างดีนั้นไปใช้ตามขั้นตอนที่กำหนด
R = Required Learners Responses
หมายถึงการกำหนดการตอบสนองของผู้เรียนซึ่งครูต้องกำหนดให้ชัดเจนว่าต้องการให้ผู้เรียนมีพฤติกรรมและแสดงออกอย่างไรบ้างและสื่อที่จะนำมาใช้นั้นครูต้องเป็นผู้ใช้หรือนักเรียนเป็นผู้ใช้เมื่อใช้สื่อ
นั้นจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือการเรียนรู้อย่างไร
E = Evaluation
หมายถึงการประเมินการตรวจสอบระบบการใช้สื่อเสมอๆเพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง อันถือว่าเป็นการพัฒนาระบบการใช้สื่อให้ดียิ่งๆขึ้น นอกจากนั้นอาจต้องทำการวิเคราะห์วิจัยสื่อที่นำมาใช้เพื่อให้ได้สื่อที่มี
ประสิทธิภาพเป็นมาตรฐานต่อไป
D = Diffusion
หมายถึงการเผยแพร่เพื่อให้ผู้ที่มีอาชีพครูด้วยกันได้รู้ได้นำไปใช้ มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดในเรื่องระบบการใช้สื่อและวิชาการต่างๆกันอยู่ตลอดเวลาอันหมายถึงการพัฒนาวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพ
ชั้นสูงตลอดไป
สุด ( Output )
เมื่อครูสามารถ ดูด สับ ซับ ซึม และซัด ได้อย่างมีความรู้ เข้าใจลึกซึ้งแล้วปัญญาก็จะเกิดขึ้นในขณะเดียวกัน ผู้เรียนก็จะมีสติปัญญามีความรู้ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรและจุดมุ่งหมายของการศึกษา
คือการพัฒนาคนให้เจริญงอกงามมีชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขตามอัตตภาพ สิ่งที่การศึกษาในปัจจุบันทำได้ค่อนข้างดี คือการพัฒนาเพื่ออาชีพเพื่อสนองความต้องการพื้นฐาน อาจกล่าวได้ว่า เพื่อหา
อาหารให้กับปากท้อง (Food for stomach) ได้ แต่ที่ยังมีปัญหาอยู่มากคือการหาอาหารให้กับสมอง (Food for Thought)ทังๆที่ อาหารสมองน่าสำคัญกว่าเพราะสามารถแก้ปัญหาเรื่องปากท้องได้ แต่น่าเสียดายว่า
ในส่วนนี้ยังทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษาน่าจะร่วมมือประสานใจกันแก้ปัญหา ยกระดับให้มนุษย์มีคุณภาพมากกว่านี้
เมื่อครูสามารถ ดูด สับ ซับ ซึม และซัด ได้อย่างมีความรู้ เข้าใจลึกซึ้งแล้วปัญญาก็จะเกิดขึ้นในขณะเดียวกัน ผู้เรียนก็จะมีสติปัญญามีความรู้ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรและจุดมุ่งหมายของการศึกษา
คือการพัฒนาคนให้เจริญงอกงามมีชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขตามอัตตภาพ สิ่งที่การศึกษาในปัจจุบันทำได้ค่อนข้างดี คือการพัฒนาเพื่ออาชีพเพื่อสนองความต้องการพื้นฐาน อาจกล่าวได้ว่า เพื่อหา
อาหารให้กับปากท้อง (Food for stomach) ได้ แต่ที่ยังมีปัญหาอยู่มากคือการหาอาหารให้กับสมอง (Food for Thought)ทังๆที่ อาหารสมองน่าสำคัญกว่าเพราะสามารถแก้ปัญหาเรื่องปากท้องได้ แต่น่าเสียดายว่า
ในส่วนนี้ยังทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษาน่าจะร่วมมือประสานใจกันแก้ปัญหา ยกระดับให้มนุษย์มีคุณภาพมากกว่านี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น