วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557

วันตรุษจีน 2557

ประวัติวันตรุษจีน

วันตรุษจีน เป็นวันสำคัญของจีนที่มีมาแต่โบราณที่เรียกว่า “กว้อชุนเจี๋ย” หรือ “กว้อเหนียน” เล่ากันว่าในสมัยโบราณ ในป่าทึบแห่งหนึ่ง มีสัตว์ป่าที่ดุร้ายและน่ากลัวมากตัวหนึ่ง เรียกว่า “เหนียน” มันออกอาละวาดกินคนเป็นประจำ พระเจ้าจึงลงโทษมัน อนุญาตให้มันลงมาจากเขาได้เพียงหนึ่งครั้งใน 365 วัน ดังนั้น
วันตรุษจีน
เมื่อฤดูหนาวใกล้จะผ่านไป ฤดูใบไม้ผลิเวียนมาใกล้ เหนียน ก็จะออกมาทำร้ายผู้คน เพื่อป้องกันการมาของ เหนียน ทุก ๆ ครัวเรือนจึงต่างสะสมเสบียงอาหาร และกับข้าวจำนวนหนึ่งไว้ในบ้าน เมื่อถึงตอนค่ำของวันที่ 30 เดือน 12 ก็จะปิดประตูและหน้าต่างเอาไว้ ไม่หลับไม่นอนตลอดคืน เพื่อต่อสู้กับ เหนียน จนกระทั่งถึงรุ่งเช้าก็จะเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือน 1 เมื่อ เหนียน กลับไปแล้ว ทุก ๆ ครัวเรือนก็จะเปิดประตูออกมาแสดงความยินดีต่อกัน ที่โชคดีไม่ได้ถูก เหนียน ทำร้าย
ต่อมาพบว่า เหนียน มีจุดอ่อนว่ามีอยู่ครั้งหนึ่ง เมื่อ เหนียน มาถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง มีเด็กกลุ่มหนึ่งกำลังหวดแส้เล่นกัน เมื่อ เหนียน ได้ยินเสียงแส้ดังเปรี้ยงปร้างก็เลยตกใจเผ่นหนีไป เมื่อ เหนียน ไปถึงหมู่บ้านอีกแห่งหนึ่ง เห็นมีชุดเสื้อผ้าสีแดงตากอยู่หน้าบ้านของครอบครัวหนึ่ง สีแดงฉูดฉาดนั้น ทำให้ เหนียน ตกใจและเผ่นหนีไปอีก เมื่อ เหนียน มาถึงหมู่บ้านแห่งที่สาม ปรากฏว่าไปพบเห็นกองเพลิงกองหนึ่งบนถนน แสงเพลิงที่เจิดจ้าทำให้ เหนียน ต้องเผ่นหนีไปอีก ตั้งแต่นั้นมา ผู้คนต่างรู้ว่า แม้ว่า เหนียน จะดุร้ายแต่มันก็กลัวสีแดง เสียงดัง และไฟ ทำให้ผู้คนสามารถคิดหาวิธีกำจัด เหนียน ได้โดยไม่ยากนัก
เมื่อวันส่งท้ายตรุษจีนเวียนมาอีกครั้งหนึ่ง ทุก ๆ ครัวเรือนจึงต่างนำกระดาษสีแดงมาติดไว้บนประตูหน้าบ้าน แขวนโคมไฟสีแดง พร้อมกับจุดประทัดและตีฆ้องรัวกลองอย่างต่อเนื่อง เมื่อ เหนียน มาถึงในตอนเย็น เห็นทุก ๆ ครัวเรือนมีแสงไฟสว่างไสว มีเสียงประทัดดังสนั่นจึงตกใจเผ่นหนีกลับเข้าป่าไป และไม่กล้าออกมาอาละวาดอีก ทุก ๆ คนจึงผ่านพ้นคืนแห่งอันตรายไปอย่างปลอดภัย เมื่อฟ้าสางแล้ว ผู้คนจึงออกมาจากบ้าน กล่าวคำอวยพรซึ่งกันและกันอย่างมีความสุข พร้อมกับการนำอาหารออกมารับประทานร่วมกันอย่างสนุกสนาน ต่อมา วันดังกล่าวจึงกลายมาเป็น วันเฉลิมฉลองที่มีแต่ความสุขที่เรียกกันว่า “ตรุษจีน
วันไหว้ตรุษจีน 2556วันตรุษจีน 2557

การไหว้เจ้า

การไหว้เจ้าเป็นธรรมเนียมประเพณีที่ลูกหลานจีน ปฏิบัติสืบทอดกันมาตามความเชื่อที่จะต้องไหว้เจ้าที่ และไหว้บรรพบุรุษเพื่อให้เป็นสิริมงคล และนำมาซึ่งความสุขความเจริญแก่ครอบครัว ในปีหนึ่งจะมีการไหว้เจ้า 8 ครั้ง คือ
  • ไหว้ครั้งแรกของปี ไหว้เดือน 1 วันที่ 1 คือ ตรุษจีน เรียกว่า “ง่วงตั้งโจ่ย
  • ไหว้ครั้งที่สอง ไหว้เดือน 1 วันที่ 15 เรียกว่า “ง่วงเซียวโจ่ย
  • ไหว้ครั้งที่สาม ไหว้เดือน 3 วันที่ 4 เรียกว่า “ไหว้เช็งเม้ง” เป็นประเพณีที่ลูกหลานไปไหว้บรรพบุรุษที่ฮวงซุ้ย
  • ไหว้ครั้งที่สี่ ไหว้เดือน 5 วันที่ 5 เรียกว่า “โหงวเหว่ยโจ่ย” เป็นเทศกาลไหว้ขนมจ้าง
  • ไหว้ครั้งที่ห้า ไหว้เดือน 7 วันที่ 15 คือ ไหว้สารทจีนเรียกว่า “ตงง้วงโจ่ย
  • ไหว้ครั้งที่หก ไหว้เดือน 8 วันที่ 15 เรียกว่า “ตงชิวโจ่ย” ที่คนทั่วไปรู้จักกันดีว่า ไหว้พระจันทร์
  • ไหว้ครั้งที่เจ็ด ไหว้เดือน 11 ไม่กำหนดวันแน่นอน เรียกว่า “ไหว้ตังโจ่ย
  • ไหว้ครั้งที่แปด ไหว้เดือน 12 วันสิ้นปี เรียกว่า ไหว้สิ้นปี หรือ “ก๊วยนี้โจ่ย

การจัดของไหว้

  • ถ้าจัดใหญ่ นิยมเป็นตัวเลข 5 คือ มีของคาว 5 อย่าง เรียกว่า “โหงวแซ” ประกอบด้วย หมู ไก่ ตับ ปลา และกุ้งมังกร แต่เนื่องจากกุ้งมังกรนั้นแพงและหาไม่ง่าย จึงนิยมไหว้เป็ดหรือปลาหมึกแห้งแทน ของหวาน 5 อย่าง เรียกว่า “โหงวเปี้ย” อาจเป็นซาลาเปาไส้หวาน ขนมไข่ ขนมถ้วยฟู ขนมกุยช่าย และขนมจันอับ ผลไม้ 5 อย่าง เรียกว่า “โหงวก้วย
  • ถ้าจัดเล็ก ก็เป็นชุดละ 3 อย่าง มีของคาว 3 อย่างเรียกว่า “ซาแซ” ของหวาน 3 อย่าง เรียกว่า “ซาเปี้ย” ผลไม้ 3 อย่าง เรียกว่า “ซาก้วย” หรือจะมีแค่อย่างเดียวก็ได้

ผลไม้ที่นิยมกันมากที่ใช้ในการไหว้

  • ผลไม้ไหว้ วันตรุษจีน ส้ม เรียกว่า “ไต้กิก” แปลว่า โชคดี
  • ผลไม้ไหว้ วันตรุษจีน องุ่น เรียกว่า “พู่ท้อ” แปลว่า งอกงาม
  • ผลไม้ไหว้ วันตรุษจีน สับปะรด เรียกว่า “อั้งไล้” แปลว่า มีโชคมาหา
  • ผลไม้ไหว้ วันตรุษจีน กล้วย มีความหมายถึง การมีลูกหลานสืบสกุล

วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2557

วันครู 2557

วันครูแห่งชาติ 
วันพฤหัสบดี ที่ 16 มกราคม พุทธศักราช 2557
 


วันครู
พระธรรมเทศนาโดย พระมหาสมชาย ฐานวุฑฺโฒ
 
         วันที่ 16 มกราคม ของทุกปี เป็นวันครู เป็นวันที่ผองศิษย์ทั้งหลายได้ร่วมใจพร้อมใจกันมานอบน้อมเคารพคุณครู ตั้งแต่โบราณกาล เราถือกันว่าคุณครู เป็นผู้ที่มีพระคุณอันยิ่งใหญ่ต่อศิษย์ทั้งหลาย ถัดมาจากคุณพ่อคุณแม่ทีเดียว ทำไมคุณครูจึงมีพระคุณอันยิ่งใหญ่ขนาดนี้ ก็ต้องมาดูที่หน้าที่ของครู ท่านสรูปไว้สั้นๆ ใน 2 คำคือ หน้าที่ในการแนะแล้วก็นำ แนะก็คือว่าการสอนให้ความรู้แก่ศิษย์นั่นเอง ส่วนการนำก็คือ การทำให้ดู คือประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างแก่ศิษย์ คุณค่าของความเป็นครูประมวลลงในคำ 2 คำนี้ ต้องสอนด้วย แล้วก็ทำตนให้เป็นแบบอย่างด้วย อย่างนี้ละก็ถือเป็นครูที่งามพร้อม สมบูรณ์พร้อม เป็นปูชนียบุคคล ที่ศิษย์ควรจะเคารพบูชา แต่ปัจจุบันเราจะพบว่าเรามีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องเยาวชนอยู่มากพอสมควรทีเดียว เด็กรุ่นใหม่ในแง่ความรู้สติปัญญาก็อาจจะมีพอสมควร แต่ที่ห่วงกันมากๆก็คือว่าเรื่องความประพฤติ ไม่ว่าจะเป็นการไปหมกมุ่นอยู่กับอบายมุขบ้าง เรื่องเกมส์คอมพิวเตอร์ บ้าง การใช้ความรุนแรงบ้าง หรือเรื่องทางเพศบ้าง ถามว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เราคงต้องย้อนกลับมาดูถึงการทำหน้าที่ของครูกันอีกครั้งแล้วละ


         ว่าปัจจุบันเราเน้นหนักไปในเรื่องของการแนะ คือการสอนให้ความรู้กับศิษย์ มุ่งหวังจะให้ศิษย์ของเราเป็นคนเก่ง ไปสู้โลกกับเขาได้ ให้ทันเทคโนโลยีของโลกมากจนกระทั่งลืมเรื่องคุณธรรม คือการสอนให้ศิษย์เป็นคนดี มันน้อยไปสักนิดหรือเปล่า ปัญหาจึงเกิดมาเช่นนี้ แต่ถ้าเกิดจะแก้ปัญหาให้ได้ ก็คงหนีไม่พ้นว่าภาระหนักอยู่กับคุณครูทั้งหลาย ซึ่งแน่นอนว่าหากจะนำสอนให้ศิษย์เป็นคนดีได้ หนีไม่พ้นว่าคุณครูทั้งหลายจะต้องประพฤติตนเป็นแบบอย่างซะก่อน คงจะต้องหาวิธีการให้คุณครูมาศึกษาธรรมะ แล้วนำสิ่งเหล่านี้ไปถ่ายทอดให้กับลูกศิษย์ด้วย

            ท่านกล่าวว่ากิเลสในตัวคนมัน 3 ตัวเหมือนกัน โลภ โกรธ หลง ถ้าหากเราสังเกตุและเข้าใจตัวเองเมื่อไหร่ เราก็จะเข้าใจคนอื่น ถ้าคูณครูทั้งหลายในฐานะที่ผ่านโลกมามาก ได้สังเกตุปฏิบัติธรรม จนกระทั่งเข้าใจธรรมชาติของใจตัวเอง รู้จุดอ่อนจุดแข็งตัวเองดี เราก็จะเข้าใจลูกศิษย์ได้ดีเช่นเดียวกัน แล้วเราจะสามารถอบรมสั่งสอนให้เขาเป็นคนดีอย่างที่ควรเป็นได้

 
วันครูแห่งชาติ 16 มกราคม
 
         ปัจจุบันกำลังมีการปฏิรูปการศึกษา คำที่ฮิตคำหนึ่งคือว่า ชายเซ็นเตอร์ แปลเป็นไทยว่าการเรียนการสอน โดยที่ยึดเอาเด็กเป็นศูนย์กลาง มีบางท่านออกมาคัดค้านไม่เห็นด้วยเหมือนกันบอกว่า จะไปถือตามใจเด็กได้ยังไง ตามใจเด็กเดี๋ยวเด็กเราก็เสียคนหมด มันก็ต้องสอนให้เด็กมาตามครูสิ ตรงนี้อยู่ที่มุมมองการตีความคำว่า เด็กเป็นศูนย์กลาง ถ้าจะถือเด็กเป็นศูนย์กลางเป็นการตามใจเด็กอันนี้ไม่ถูกแน่ แต่ความหมายจริงๆอาตมาเข้าใจว่า คำว่าชายเซ็นเตอร์ หรือการเรียนการสอน โดยมีเด็กเป็นศูนย์กลางหมายถึงว่า คุณครูจะต้องสนใจสังเกตุเด็ก จะสอนอะไรไปจะแนะจะนำอะไรก็ตาม ต้องสังเกตุเด็กว่าปฏิกิริยาตอบรับเป็นอย่างไร ถ้าเป็นการสอนให้ความรู้ เด็กเข้าใจหรือยัง หาวิธีการปรับจนกระทั่งว่าเด็กสามารถศึกษาแล้วเข้าใจได้อย่างดีถ่องแท้ เอาความรู้นั้นไปใช้ได้จริงๆ ไม่ใช่มาถึงเราก็สอนไปอย่างที่เราอยากสอน เด็กจะรู้เรื่องหรือไม่ปล่อยเป็นเรื่องของเขา ถ้าอย่างนี้ประสิทธิภาพการเรียนมันก็ไม่เต็มที่ ต้องสังเกตุผู้เรียน ทำยังไงก็ได้หาวิธีการทุกรูปแบบให้เขาเข้าใจ แล้วก็เอาความรู้นั้นไปใช้ได้
 
        ถ้าในแง่ของเรื่องความประพฤติก็เช่นเดียวกัน ต้องสังเกตุลูกศิษย์ของเราเองไม่ปล่อยเลยตามเลย หาวิธีการทุกรูปแบบ ทำยังไงก็ตามให้ศิษย์ของเราเอง เป็นคนดีอย่างที่พึงเป็นให้ได้ ถ้าหากว่าบางครั้ง เห็นเหลือบ่ากว่าแรงนัก เราก็สามารถประสานพลังได้ อ้าว พาลูกศิษย์ไปวัดบ้าง ไปกราบหลวงปู่ หลวงตาที่มีความรู้ความสามารถ ช่วยอบรมสั่งสอนให้ เป็นครั้งคราวอาจจะไปเช้าเย็นกลับ บางทีอาจจะนิมนต์ท่านมาสอนที่โรงเรียนก็ตาม ไปกราบท่านถึงวัดก็ตาม หรือว่าอาจจะมีการจัดปฏิบัติธรรม 2 วัน 3 วัน ก็ตาม หากิจกรรมธรรมะต่างๆให้เด็กมาร่วม เพื่อกระตุ้นความตื่นตัวในการศึกษาธรรมะ ในการฝึกอบรมปฏิบัติตัวเองให้เป็นคนดี รักบุญกลัว บาป เข้าใจเรื่องกฏแห่งกรรมก็ตาม หรือหาสื่อดีๆให้ศิษย์ของเราเองได้ดูได้ชม เพื่อสร้างเสริมเขาให้เป็นคนที่ทั้งเก่งด้วย แล้วก็ดีด้วย คุณครูคนไหนสามารถทำได้อย่างนี้ละก็ นั่นคือปูชนียบุคคลของศิษย์อย่างแท้จริง ถ้าคุณครูทั้งประเทศช่วยกันคนละไม้คนละมือ เยาวชนทั้ง 13 ล้านคนระบบ การศึกษา จะเป็นเด็กทั้งเก่งแล้วด็ดี แล้วเราจะตอบได้เลยว่า อนาคตของประเทศไทยของเรา ก็จะสว่างไสวแล้วก็เป็นปิ่นนานาประเทศ เป็นแบบอย่างแก่สังคมโลกได้อย่างแท้จริง โดยมีหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา เป็นประทีปส่องทางชีวิต แล้วก็อาศัยคุณครูทั้งหลาย เป็นผู้ประสานเอาพระธรรมคำสอนนี้ ไปสู่ใจของเยาวชนทั้งประเทศ เจริญพร


 16 มกราคม วันครูแห่งชาติ
 

วันครู 16 มกราคมของทุกปี

ประวัติความเป็นมาของวันครู

     มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. 2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความ เห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษา ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู
 
     ด้วยเหตุนี้ในทุก ๆ ปี คุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญ คุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามปัญหาข้อข้องใจต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของ คุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบ ข้อสงสัยสถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา ปี พ.ศ. 2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า
 
     “ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือ ว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมี บุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บันดาลูกศิษย์ทั้งหลาย ได้แสดงความเคารพสักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับคนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง”
 
     จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความคิดเห็นของครูที่ แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่น ๆ ที่ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครู ในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติ เห็น ควรให้มีวันครูเพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครู กับประชาชน
 
     ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2499 ให้วันที่ 16 มกราคมของทุกปีเป็น “วันครู” โดย เอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2488 เป็นวันครูและให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดัง กล่าวได้
 
วันครูทางพระพุทธศาสนา คือวันอะไร

     ถ้าเราถือว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นเป็นบรมครูของเรา วันที่เนื่องด้วยพระองค์ก็คือวันวิสาขะบูชา ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน จะถือวันนี้ก็คงจะได้ เราไม่ได้มีการกำหนดตายตัวหรอก แต่ถือวันนี้ก็ได้เหมือนกัน หรือว่าบางท่านอาจจะถือว่าพระธรรมเป็นใหญ่ ก็อาจจะถือวันที่พระองค์แสดงธรรมครั้งแรก ก็คือวันอาสาฬหะบูชาก็ได้ ที่พระองค์แสดงปฐมเทศนาธัมมจักรกัปปวัฒนสูตรให้กับปัญจวัคคี ก็ได้เหมือนกัน
 
การบูชาพระคุณของครู ในทางพระพุทธศาสนามีวิธีการอย่างไร

     สุดยอดของการบูชาคือการปฏิบัติบูชา ทำตามสิ่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์สอนเอาไว้ หลักก็คือสำหรับพวกเราที่ครองเรือนอยู่ วิถีชีวิตชาวพุทธก็คือ ให้ทาน รักษาศีล แล้วก็ตั้งใจเจริญสมาธิ(Meditation)ภาวนา

ผู้ติดตาม